Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4429
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประจิม มงคลสุขen_US
dc.date.accessioned2556-10-16T02:18:59Z-
dc.date.available2556-10-16T02:18:59Z-
dc.date.issued2556-10-16T02:18:59Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4429-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการ กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากพระราช- บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติให้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาไปสู่ สถานศึกษาโดยตรง แต่ในทางปฏิบัติสถานศึกษายังขาดความมีอิสระและความคล่องตัวใน การดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคล ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา จึงได้ทำการศึกษาเพื่อให้ทราบว่ามีการกระจายอำนาจดังกล่าว ไปสู่สถานศึกษาอย่างแท้จริงตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดไว้ หรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลด้านการสรรหาตำแหน่ง ข้าราชการครูและผู้บริหารสถานศึกษายังไม่มีการกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษา โดยที่อำนาจ ดังกล่าวยังอยู่ที่องค์คณะและผู้บังคับบัญชาระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป อีกทั้งการกระจายอำนาจ การบริหารงานบุคคลด้านการบรรจุและแต่งตั้งยังไม่มีการกระจายอำนาจทั้งหมด สถานศึกษามี อำนาจบางส่วน แต่อำนาจส่วนใหญ่ยังอยู่กับองค์คณะและผู้บังคับบัญชาระดับเขตพื้นที่การศึกษา ขึ้นไป นอกจากนี้การกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลด้านการพิจารณาความดีความชอบ ยังไม่มี การกระจายอำนาจทั้งหมด สถานศึกษามีอำนาจเพียงเสนอความเห็น แต่อำนาจในการเห็นชอบ ในการพิจารณาความดีความชอบยังเป็นอำนาจขององค์คณะและผู้บังคับบัญชาระดับเขตพื้นที่ การศึกษาขึ้นไป และการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลด้านการดำเนินการทางวินัย ยังไม่มี การกระจายอำนาจทั้งหมด สถานศึกษามีอำนาจดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรง ส่วนการดำเนินการ ทางวินัยอย่างร้ายแรงมีอำนาจดำเนินการบางตำแหน่ง แต่ส่วนใหญ่อำนาจการดำเนินการและอำนาจ การพิจารณาลงโทษยังเป็นอำนาจขององค์คณะและผู้บังคับบัญชาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษาขึ้น ไป โดยผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรแก้ไขเพิ่มพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 26 และมาตรา 47 ให้อำนาจคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้มี อำนาจดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและสอบ คัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษา และควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 53 ให้สถานศึกษามีอำนาจในการบรรจุและแต่งตั้งทุกตำแหน่ง ในสถานศึกษา โดยอนุมัติคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และควรแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2547 โดยให้คณะกรรมการ สถานศึกษามีอำนาจในการเห็นชอบการพิจารณาความดีความชอบทุกตำแหน่งในสถานศึกษา นอกจากนั้นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2547 ให้สถานศึกษามีอำนาจดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงทุกตำแหน่ง โดยความเห็นชอบ จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.description.sponsorshipมหาิวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectการกระจายอำนาจen_US
dc.subjectการบริหารงานบุคคลen_US
dc.subjectข้าราชการครูen_US
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษาen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายในการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
12profile.pdf46 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf145.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.