Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนวลนภา อภิบาลศรีen_US
dc.date.accessioned2556-10-16T02:35:48Z-
dc.date.available2556-10-16T02:35:48Z-
dc.date.issued2556-10-16T02:35:48Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4433-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายในการใช้ กระบวนการอนุญาโตตุลาการในสัญญาสัมปทานตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 เกี่ยวกับปัญหาการนำกระบวนอนุญาโตตุลาการมาใช้ระงับข้อพิพาทในสัญญาสัมปทาน ด้วยเหตุที่ ประเทศไทยมีเพียงมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2547และมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2547 ถึงแนวทางปฏิบัติในการเข้าทำสัญญาสัมปทานที่กำหนดให้นำคดีพิพาทที่เกิด จากสัญญาสัมปทานส่งไปฟ้องศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมเท่านั้นและไม่เขียนในข้อสัญญาให้ มอบข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากมีปัญหาหรือมีความจำเป็นหรือเป็นข้อเรียกร้อง ของคู่สัญญาอีกฝ่ายที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเป็นราย ๆ ไป ซึ่งมติ คณะรัฐมนตรีดังกล่าวมิได้ยึดหลักปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี อนุสัญญาที่เกี่ยวกับการยอมรับนับถือและการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่าง ประเทศ (Geneva Convention และ New York Convention) จึงทำเกิดปัญหาในแนวทางปฏิบัติและ ข้อกฎหมายอยู่หลายประการด้วยกัน จากการศึกษาวิเคราะห์ว่าการระงับข้อพิพาทในสัญญาสัมปทานมีความขัดกันระหว่างมติ คณะรัฐมนตรีลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2547 ที่ให้นำคดีที่เกิดจากสัญญาสัมปทานส่งฟ้องต่อศาล ปกครองหรือศาลยุติธรรมเท่านั้นกับการที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการ ยอมรับนับถือและการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศประกอบกับการที่ นำพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาบังคับใช้กับการระงับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญา สัมปทานโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการดำเนินแนวทางตามหลักกฎหมายแพ่งซึ่งขัดกับหลัก กฎหมายมหาชนดังนั้นในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะว่าควรแสวงหาวิธีที่เหมาะสมในการ ระงับข้อพิพาทในสัญญาสัมปทานโดยเสนอให้มีการกำหนดประเภทของสัญญาสัมปทานตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 เพื่อแบ่งแยกประเภทของสัญญาสัมปทานว่าสัญญาสัมปทาน ประเภทใดควรระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการหรือศาลปกครอง นอกจากนี้ผู้ศึกษาขอเสนอให้ มีการบัญญัติกฎหมายสัญญาสัมปทานไว้โดยเฉพาะรวมทั้งเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 เพื่อให้กฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการในสัญญา สัมปทานของประเทศไทยมีความเป็นเอกเทศและเป็นที่ยอมรับในแวดวงของนักกฎหมายและนัก ลงทุนภาคเอกชนen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectอนุญาโตตุลาการen_US
dc.subjectสัญญาสัมปทานen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในสัญญาสัมปทานen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
12profile.pdf57.93 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf178.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.