Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4439
Title: ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้สิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
Authors: วิศิษศักดิ์ เนืองนอง
Keywords: สิทธิบัตรยา
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
Issue Date: 20-October-2556
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ สิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542โดยทำการศึกษาวิเคราะห์พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ในด้านสิทธิบัตรยา หลักกฎหมาย ของประเทศไทยและหลักกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรยา เพื่อให้ทราบถึง ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 และเพื่อให้ได้ ข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ที่ประเทศไทยได้กำหนดให้ความคุ้มครอง ผลิตภัณฑ์ยาตามข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ความตกลงทริปส์ (TRIPs) และภายใต้แรง กดดันทางการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้กล่าวอ้างถึงการที่ประเทศไทยใช้มาตรการสำหรับ สิทธิบัตรยาว่าผิดมาตรฐานความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPs) ข้อ 27 (1) อันเป็นข้อตกลงที่สำคัญขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก จึงทำให้ประเทศไทยต้องยกเลิกมาตรการสำหรับสิทธิบัตรยารวมถึงคณะกรรมการสิทธิบัตรยาใน การแก้ไขพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 ซึ่งกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถให้ความคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนใน ประเทศไทยให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาได้ตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั่วไปที่ประชาชนควรจะ ได้รับ แต่กลับเป็นการให้สิทธิผูกขาดและเป็นประโยชน์กับผู้ทรงสิทธิบัตรยามากจนเกินไป เนื่องจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542ได้ให้สิทธิในการผูกขาดแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรยาโดยสมบูรณ์ ถึงแม้จะมีมาตรการ บังคับใช้สิทธิ (Compulsory License) มาบังคับใช้ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการ บังคับใช้สิทธิบัตรยาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตาม พระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์และ ไม่มีมาตรการในการคุ้มครองผลประโยชน์และคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเหมาะสมภายใต้ การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรยา นอกจากนั้นการยกเลิกมาตรการสำหรับสิทธิบัตรยารวมถึง คณะกรรมการสิทธิบัตรยาทำให้ไม่มีมาตรการที่สามารถนำมาใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพใน การที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับสิทธิบัตรยาทั้งด้านผลิตภัณฑ์ยาและผู้ทรงสิทธิบัตรยาโดยตรง รวมถึง ปัญหาในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการใช้บังคับตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้หลายประการโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การเสนอให้มีการแยกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิบัตรยาออกจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 โดยการบัญญัติ กฎหมายลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตรยามาบังคับใช้ โดยให้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอยู่ ภายใต้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยต้องมุ่งเน้นผลประโยชน์ของคุณภาพชีวิตที่ประชาชนใน ประเทศควรได้รับเป็นหลักมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4439
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
12profile.pdf52.34 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf178.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.