Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4443
Title: ปัญหาในทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลธุรกิจและการผลิตเกมคอมพิวเตอร์
Authors: ตันติกร สิรเวทย์
Keywords: การควบคุม
การผลิต
เกมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 20-October-2556
Abstract: การศึกษาปัญหาในทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมดูแลธุรกิจและการผลิตเกม คอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบ ธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์ และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมและดูแลการประกอบ ธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์ของกฎหมายต่างประเทศ กฎหมายของประเทศไทย พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์และค้นคว้าหาแนวทางที่ เหมาะสมเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจผลิตเกม คอมพิวเตอร์โดยการวิจัยในวิทยานิพนธ์นี้ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดย ค้นคว้าจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับการ ประกอบธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการในสาขานิติศาสตร์ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องค้นคว้าในห้องสมุดของทางมหาวิทยาลัย และของทางสถาบันต่าง ๆ รวมทั้ง ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมา วิเคราะห์และนำมาแก้ไขปัญหาทางกฎหมายต่อไป ผลการวิจัย พบว่าจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าปัจจุบันนี้ในประเทศไทยยังไม่มี หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของธุรกิจเกมคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่ง ในปัจจุบันนี้ทางภาครัฐทำได้เพียงให้แต่ละหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ช่วยกันรับผิดชอบในแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นและแตกต่างกันไปถือเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุด ที่ ทางภาครัฐจะต้องเร่งจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบการกระทำความผิดของธุรกิจผลิตเกมคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับผู้ประกอบธุรกิจผลิตเกม และผู้ประกอบกิจการร้านเกม คอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้และในอนาคตต่อไป จากการศึกษาทางด้านมาตรการควบคุมจากร่างพระราชบัญญัติควบคุมผู้ประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับเกมออนไลน์และเกมคอมพิวเตอร์ สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีโทษอาญารุนแรง แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับกำหนดไว้ไม่ชัดเจนระหว่างความผิดทาง คอมพิวเตอร์กับความผิดทางอาญา แม้กฎหมายจะให้ความคุ้มครองทางสิทธิเสรีภาพ แต่กลับมี ข้อยกเว้นโดยใช้ข้ออ้างความมั่นคงและเรื่องศีลธรรมขณะที่กฎหมายต่างประเทศจะมีข้อห้าม เพียง ไม่ให้เผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ดังนั้นจึงเห็นว่ากฎหมายที่บังคับใช้ เขียนเอาไว้กว้างเกินไปคำ นิยามไม่ชัดเจนจนอาจเกิดปัญหาการตีความในอนาคตรัฐบาลอาจมีอำนาจขอข้อมูลจากผู้ดูแลเว็บ ไซด์ คล้ายกับประเทศจีนและสิงคโปร์ ซึ่งรัฐบาลสามารถควบคุมโครงสร้างอินเตอร์เน็ตได้อย่าง เบ็ดเสร็จ จึงควรออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เพื่อไม่ให้กระทบกับสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูล ส่วนตัวและที่สำคัญ การสั่งบล็อคเวบไซด์จะทำได้เมื่อมีคำสั่งศาล และรัฐมนตรีต้องรับทราบ แต่ เนื่องจากทางภาครัฐขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้คนทั่วไปไม่เข้าใจ ยืนยันว่าเว็บไซด์ที่จะถูกบล็อค ได้ต่อเมื่อมีเนื้อหาเป็นความผิดต่อองค์พระประมุข การก่อการร้าย และขัดต่อศีลธรรมอันดี เช่นเรื่อง ภาพ ลามกอนาจาร นอกเหนือจากนี้ไม่เข้าข่าย อีกทั้งกฎหมายยังมีบทลงโทษเจ้าพนักงานที่ใช้ อำนาจหน้าที่โดยมิชอบอย่างเคร่งครัด แม้แต่ระดับอธิบดี ก็ไม่สามารถใช้อำนาจเกินขอบเขตในการ เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่จะต้องประกาศให้ชัดเจนว่าเจ้าพนักงานและ เจ้าหน้าที่ที่จะทำหน้าที่ตรวจสอบเว็บไซด์จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ ผู้ประกอบการถูกใส่ร้ายผ่านอินเตอร์เน็ต การยึดอายัดคอมพิวเตอร์ไปตรวจสอบ จะต้องมีขั้นตอน การตรวจสอบที่โปร่งใส
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4443
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
14profile.pdf54.42 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf147.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.