กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4448
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่ายพืชป่า
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนภรณ์ ฉายาชวลิต
คำสำคัญ: การควบคุม
พืชป่า
การจำหน่าย
วันที่เผยแพร่: 21-ตุลาคม-2556
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าโดยพิจารณา ถึงกฎหมายที่ได้มีการอนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของพืชป่าที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ตามสนธิสัญญา “ไซเตส” เมื่อการค้าพืชป่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างกำไรได้โดยไม่ต้อง ลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างมหาศาล อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พืชป่าลด จำนวนลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากปัญหาความไม่ชัดเจนในบทบัญญัติกฎหมาย การใช้อำนาจหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ในการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน ซึ่งพืชป่าและ ปัญหาความเป็นเอกภาพของกฎหมาย แม้ในประเทศไทยจะมีการควบคุมพืชป่าอยู่หากมีการกำหนด ความหมายและวิธีการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าไว้อย่างชัดเจนอาจสามารถแก้ไขปัญหาการค้าพืช ป่าได้ จากการศึกษาพบว่าการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าตามกฎหมายที่ได้มีการอนุวัติตาม อนุสัญญาไซเตสและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการจำหน่ายพืชป่านั้นไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอในการที่จะบังคับใช้กฎหมายและความไม่ชัดเจนในคำนิยามของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการออกใบอนุญาตหรือใบรับรองการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่าน ซึ่งพืชป่าพบว่าเป็นการออกใบอนุญาตของอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายและการออกใบอนุญาต ของพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สอดคล้องกันและความเป็นเอกภาพของกฎหมายที่ไม่มีความเป็นหนึ่ง เดี่ยวกัน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายภายในประเทศไทยหรือการ ออกกฎหมายเฉพาะ เพื่อควบคุมการจำหน่ายพืชป่าที่อยู่ในป่าธรรมชาติโดยตรงในอนาคตได้จะทำ ให้ประเทศไทยมีกระบวนการควบคุมการจำหน่ายพืชป่าที่ชัดเจนและเกิดความสำเร็จในระดับ มาตรฐานสากลที่สูงขึ้น
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4448
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
13profile.pdf59.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf166.1 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น