กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4559
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความพึงพอใจในงานของบุคลากรกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน =THE STUDY OF JOB PERFORMANCE SATISFACTION OF DEPARTMENT OF ALTERNATIVE ENERGY DEVELOPMENT AND EFFICIENCY
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุปราณี อนุศาสตร์
คำสำคัญ: ความพึงพอใจในงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
วันที่เผยแพร่: 21-มกราคม-2558
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องความพึงพอใจในงานของบุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของบุคลากร และ 2)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในงานของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research)โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 174 คน ซึ่งกำหนดโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโรยามาเน่(Yamane)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานของบุคลากร ผู้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test หรือความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1)บุคลากร กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน มีความพึงพอใจในงานภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้านทั้งหมด 7 ด้านนั้น บุคลากรมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำคือ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความมั่นคงและปลอดภัย และด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านที่เหลืออีก 4 ด้าน บุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทั้งหมด โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ ได้คือ ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านสวัสดิการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านค่าตอบแทน 2)บุคลากรที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล มีความพึงพอใจ ในงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่หากพิจารณารายด้านพบว่า บุคลากรที่มี เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจในงานราย ด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4559
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
IS-สุปราณี อนุ-MBA-2556.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น