กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4589
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมือง จังหวัดระยองอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง : THE PEOPLE’S PARTICIPATION IN LOCAL DEVELOPMENT PLANNING OF NAMKHOK SUBDISTRICT MUNICIPALITY MUANG RAYONG, RAYONG
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภคมน อินทร์น้อย
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 25-กรกฎาคม-2559
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น บทบาทหน้าที่ทางสังคม และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation:S.D) ทดสอบสมมุติฐานเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำแนกเพศ โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (t-test for Independent Samples) และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำแนกตามอายุ การศึกษา อาชีพรายได้ ระยะเวลาอาศัยอยู่ในท้องถิ่น บทบาทหน้าที่ทางสังคม และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่(Multiple Comparison) โดยวิธีการทดสอบของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี รองลงมาช่วง 51 ปี ขึ้นไป มีการศึกษาระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด รองลงมา ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า มีอาชีพรับจ้างทั่วไป มากที่สุด รองลงมา คือ อาชีพค้าขายหรือธุรกิจส่วนตัว ได้รับเงินเดือนอยู่ในระดับ 5,001 - 10,000 บาท มากที่สุด รองลงมาผู้ที่ได้รับเงินเดือนอยู่ในระดับ 10,001 - 15,000 บาท ประชาชนผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเป็นเวลามากว่า 10 ปี มากที่สุด รองลงมาผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นเป็นเวลา 5-10 ปี 2. ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีส่วนในผลประโยชน์มากที่สุด รองลงมา มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และมีส่วนร่วมในติดตามและประเมินผล ตามลำดับ 3. แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และ บทบาทหน้าที่ทางสังคม และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น ที่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: "หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม"
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4589
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ภคมน อินทร์น้อย.pdf363.96 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ