กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5006
ชื่อเรื่อง: สถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับนก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ARCHITECTURE ORDER COEXISTENCE AS HUMAN AND BIRS’S
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ร่มเกล้า ช่วยดู
คำสำคัญ: นกแอ่น
พฤติกรรมและปัจจัยการสร้างรังของนกแอ่น
รังนกแอ่น
การตั้งถิ่นฐานของชาวจีน
สถาปัตยกรรมแบบตึกแถว
จังหวัดตรัง
รูปแบบพัฒนาการของตึกแถวทับเที่ยง
ทฤษฏี Parasite Architecture
ทฤษฎี Mutualism
ทฤษฎีพลศาสตร์ (aerodynamics)
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวของมนุษย์
การเคลื่อนไหวของคนกับนก
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ร่มเกล้า ช่วยดู. 2559. "สถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับนก." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 54014881_ร่มเกล้า ช่วยดู
บทคัดย่อ: การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับนก พื้นที่จังหวัดตรังมีนกหลากหลายสายพันธ์ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ในแต่ละเดือน และมีนกที่อาศัยอยู่ประจำถิ่นนั้นคือ นกแอ่น ซึ่งอาศัยอยู่ตามเกาะตามถ้ำต่างๆต่อมาคนได้เห็นคุณค่าความสำคัญของนกแอ่นจึงเริ่มมีการสร้างบ้านให้นกอยู่เพื่อการนำผลผลิตจากรังนกออกมาจำหน่าย ซึ่งนกแอ่นถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจส่งออกระดับต้นๆของประเทศทำให้เกิดการขยายตัวของจำนวนบ้านนกแอ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และโดยส่วนใหญ่การสร้างบ้านให้นกแอ่นนั้นจะสร้างให้อาศัยอยู่ร่วมกับคนในเมืองได้อย่างกลมกลืน เนื่องจาก ชุมชนในอดีตทั้งทางด้านวิถีชีวิตและทางด้านสถาปัตยกรรม ที่มีคุณค่าของจังหวัดตรังที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างวิถีชีวิตของ คน สัตว์ และสภาพแวดล้อมโดยรอบ จะมีวิธีใดบ้างที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งสอง ที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ และมีทฤษฎีใดบ้างที่สามารถทำให้นกที่อยู่ในถ้ำเดิมหรือนกที่อยู่บริเวณโดยรอบเข้ามาใช้พื้นที่และเกิดผลผลิตมากกว่าเดิมที่เป็นอยู่ และใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างมีคุณค่ามากที่สุด จากแนวคิดในการศึกษาทฤษฎีและการลงพื้นที่ศึกษาพฤติกรรมวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ และพฤติกรรมกรรมวิถีชีวิตของนกแอ่น ที่ส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ของคนกับนก และตัวรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมที่มีอยู่ ว่าแนวทางการออกแบบจะเป็นไปในทิศทางใดตามกระบวนการนำเสนอ ที่จะสร้างพื้นที่ที่ คนกับนกสามารถอยู่ร่วมกัน ได้ตรงตามความต้องการของจุดประสงค์ เพื่อเป็นงานวิจัยที่จะสามารถเกิดขึ้นจริงได้ในอนาคต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5006
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TH_54014881_Romklaow_Chuaydoo.pdf9.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น