กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5368
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบจำลองการจัดการความรู้เพื่อส่งต่อผลงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A KNOWLEDGE MANAGEMENT MODEL FOR IMPACTING JOB PERFORMANCE OF MEDICAL TECHNOLOGY LABORATORY IN THAILAND HOSPITAL
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มณี เตชวิริยะ
คำสำคัญ: การจัดการความรู้
วัฒนธรรมการเรียนรู้
โครงสร้างองค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลงานจากการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: Sripatum University
แหล่งอ้างอิง: มณี เตชวิริยะ. 2559. "การพัฒนาแบบจำลองการจัดการความรู้เพื่อส่งต่อผลงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย." วิทยานิพนธ์การจัดการดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่องานด้านการจัดการความรู้ รวมถึงองค์ประกอบของงานด้านการจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อผลงานจากการทำงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อผลงานจากการทำงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดการความรู้ที่มีต่อผลงานจากการทำงานในห้องปฏิบัติ การเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย 4) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการจัดการความรู้เพื่อส่งต่อผลงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง เพื่อทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบโครงสร้างองค์ประกอบการจัดการความรู้ เพื่อส่งต่อผลงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย 2) ทำการยืนยันแบบจำลองโดยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยวัฒนธรรมการเรียนรู้โครงสร้างองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการจัดการความรู้ โดยที่โครงสร้างองค์กรจะมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการจัดการความรู้มากที่สุด ตามด้วยวัฒนธรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจานี้ยังพบว่า การจัด การความรู้มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลงานห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์โรงพยาบาล ในประเทศไทย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ. ปีการศึกษา 2558. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5368
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ