Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5623
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจุลเดช จิตถวิลen_US
dc.date.accessioned2018-09-29T07:47:01Z-
dc.date.available2018-09-29T07:47:01Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationจุลเดช จิตถวิล. เหตุอันจำเป็นในการประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2561.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5623-
dc.descriptionจุลเดช จิตถวิล. เหตุอันจำเป็นในการประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2561.en_US
dc.description.abstractมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 บัญญัติว่า “เมื่อเวลามีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย (Keep the Peace without the Disaster) ซึ่งจะมาจากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักรแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการ (Royal Command) ให้ใช้กฎอัยการศึก (Martial Law) ทุกมาตราหรือแต่บางมาตรา หรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขแห่งการใช้บทบัญญัติ (Conditions for Application of Provisions) นั้นบังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรหรือตลอดทั่วราชอาณาจักร และถ้าได้ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายใด ๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึก (Contrary to the Provisions of Martial Law) ที่ให้ใช้บังคับต้องระงับ (Unenforceable) และใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน” ซึ่งเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีปัญหาในทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในประเด็นของคำว่า “เมื่อเวลามีเหตุอันจําเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักร” กรณีดังกล่าวมิได้มีคำนิยามเอาไว้ จึงมีปัญหาว่า “เมื่อเวลามีเหตุอันจําเป็น” นั้นมีความหมายอย่างไร มีขอบเขตบังคับได้แค่ไหน เพียงไร จากการศึกษาพบว่า การที่พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 มิได้นิยามความหมาย และขอบเขตของคำว่า “เมื่อมีเวลามีเหตุอันจำเป็น” ในการประกาศใช้กฎอัยการศึกไว้ ในการประกาศใช้กฎอัยการศึกในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้น จึงเป็นการประกาศใช้เมื่อมีเหตุอันจำเป็นเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน เนื่องมาจากสภาวะสงครามระหว่างประเทศ (International War) การทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศ (Coup of State Administration) และการป้องกันปัญหาการก่อการจลาจลภายในประเทศ (Internal Riots) เท่านั้น มิได้มีเหตุอื่นนอกเหนือจากนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 โดยเพิ่มอำนาจในการประกาศใช้กฎอัยการศึกในกรณีที่มีเหตุอันจำเป็นกรณีมีเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน หรือกรณีมีเหตุอันจำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อร้ายแรง (Serious Contagious Diseases) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด เพื่อให้การใช้อำนาจในการประกาศใช้กฎอัยการศึกของราชอาณาจักรไทยมีคุณประโยชน์ในเชิงให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนและสังคมโดยส่วนรวม (Assistance to the People and Collective Society) ได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องความล่าช้าของขั้นตอนระบบราชการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมโดยส่วนรวม และส่งผลดีต่อการบริหารราชการแผ่นดินต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_จุลเดช จิตถวิล _2561en_US
dc.subjectกฎอัยการศึกen_US
dc.subjectการประกาศใช้กฎอัยการศึกen_US
dc.subjectการรักษาความสงบ เรียบร้อยen_US
dc.subjectเหตุอันจำเป็นในการประกาศใช้กฎอัยการศึกen_US
dc.titleเหตุอันจำเป็นในการประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457en_US
dc.title.alternativeCASE OF NECESSARY TO DECLARE MARTIAL LAW UNDER MARTIAL ACT BUDDHISM ERA 2457 (1914).en_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ- พลตรีจุลเดช จิตถวิล)-2561.pdf271.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.