Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5727
Title: วิชาศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนาคุณภาพพลเมืองไทย
Other Titles: -
Authors: กิตติภูมิ มีประดิษฐ์
Keywords: วิชาศึกษาทั่วไป คุณภาพพลเมืองไทย
Issue Date: 19-November-2018
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 11001 หน้า 9
Series/Report no.: -
Abstract: โลกการเรียนการสอนของมนุษย์ในทุก GENERATION อย่าวัดที่คุณภาพของเทคโนโลยี แต่ต้องวัดที่ความตั้งใจในการออกแบบการเรียนรู้ของครู ครูต้องเป็นครูอยู่ตลอดเวลา ครูในประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการผลิตพลเมืองดีมีคุณค่าออกมารับใช้ประเทศชาติและสังคม เขาวัดที่คุณภาพผู้เรียนที่จบออกมา เก่ง.... คนในวิชาชีพต้องช่วยกันสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ ให้รองรับตลาดแรงงาน ส่วนดี และ มีความสุข วิชาศึกษาทั่วไปต้องจัดการให้สำเร็จ มีคำหลายคำที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในรายวิชาต่างๆ ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เช่น ความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก การนำศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน การจัดการความดี การส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ หรือแม้แต่วิชาการขับเคลื่อนเขยื้อนสังคม ก็เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ 30 หน่วยกิตของวิชาศึกษาทั่วไปให้คุ้มค่า ส่วนเรื่องของความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล หรือ วิชา DIGITAL LITERACIES มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสอนให้เขาสร้างเสริมคุณลักษณะบัณฑิตด้านนี้อย่างเร่งด่วน แต่ต้องสอนแบบผ่อนพักตระหนักรู้ เพราะวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคนี้ เขาอยู่กับดิจิทัลอยู่แล้วอย่ายัดเยียดความจำแต่ต้องสร้างความตระหนัก มีแบบแผนการสร้างพลเมืองและรายวิชาแบบนี้มากมายในประเทศต่างๆ
Description: “วิชาศึกษาทั่วไปไม่ใช่วิชาศึกษาไปทั่ว” เพราะตอนนิยามความหมาย ไม่ได้มุ่งหวังสร้างยอดมนุษย์ออกมาปรับเปลี่ยนโลกแห่งการทำงาน แต่เรามุ่งสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่พร้อมด้วย กาย ใจ สติปัญญา และสภาพแวดล้อม ออกมาปรับเปลี่ยนสังคม ควบคู่กับสมรรถนะในการทำงานที่คนเก่งในวิชาชีพต่างๆ จะต้องมีกายดีต้องทำให้เขามีสุขภาวะที่ดีเหมาะสมในช่วงวัย สุขภาพต้องสมบูรณ์ รักการเล่นกีฬา ในประเทศไต้หวันบางมหาวิทยาลัยกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องเรียนและมีกิจกรรมการออกกำลังกายในสองปีแรกของการเรียนโดยไม่คิดหน่วยกิต แต่ไม่เรียน ไม่เล่นไม่จบ วิชาพลศึกษาจึงมีความสำคัญและไม่เชยเลยถ้าต้องการสร้างมนุษย์ที่มีกายดี ใจดีต้องมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมความเป็นพลเมือง คือ ต้องสร้างพลเมืองตื่นรู้ ให้สำเร็จ จำเป็นสูตรสำเร็จง่ายๆ คือ ต้องสร้างพลเมืองที่ “พึ่งสังคมและตนเองอย่างสำเร็จ ต้องถือเคล็ดเคารพสิทธิผู้อื่นเสมอ เคารพความแตกต่างฉันและเธอ เคารพความเสมภาคและเท่าเทียม เคารพกฎกติกามารยาท รับผิดชอบสังคมชาติไม่หลีกเลี่ยง” สติปัญญาดี ต้องมีวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ หรือทักษะการเป็นพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 แต่ที่แน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การใช้ภาษาในการสื่อสารต้องเฉียบคมทั้ง ไทย อังกฤษ และภาษาที่ 3 คนที่จะมีสติปัญญาดีต้องรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยากหรือไม่ ไม่ทราบแต่ต้องเพาะบ่มให้เกิดขึ้นทุกช่วงอายุในการเรียน ส่วนสภาพแวดล้อมนั้น ต้องมีวิชาที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเป็นคนดีในสังคม เมื่อออกไปอยู่ในสังคมหรือชุมชนใดต้องเป็นนักจัดการความดี ดูแลครอบครัว เกลียดการโกง สร้างนิเวศวัฒนธรรมและนิเวศวิทยาที่จะก่อให้เกิดความสุขของมนุษย์และแผ่นดินเกิด แค่ 4 ประเด็น กับ 30 หน่วยกิต ที่เราจะสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้ออกไปสร้างสังคมไทย น่าจะคุ้มค่า
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5727
Appears in Collections:บทความวิชาการ



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.