กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5772
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE DEVELOPMENT OF ASSESSMENT SYSTEM OF VIRTUAL SMART CLASSROOM FOR THAI EDUCATION
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พันธิการ์ วัฒนกุล
คำสำคัญ: การพัฒนาระบบประเมิน
ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือน
การศึกษาไทย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: พันธิการ์ วัฒนกุล. 2561. "การพัฒนาระบบประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาไทย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_พันธิการ์ วัฒนกุล_T182410
บทคัดย่อ: ห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการเรียนรู้แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีที่ใช้ การที่ทราบถึงคุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนได้นั้นสิ่งสำคัญคือต้องมีเครื่องมือประเมินที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการประเมินผลห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนโดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทยและเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพของห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนจริงในระดับชั้นการศึกษาต่าง ๆ ของไทย วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การพัฒนาตัวชี้วัดในมิติคุณภาพต่าง ๆ 2) การพัฒนาระบบการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนสำหรับการศึกษาระดับต่าง ๆ ของไทยและ 3) การประเมินระบบห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นสำหรับการศึกษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่ามิติการวัดคุณภาพที่ใช้ในการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่เหมาะสมกับการศึกษาของไทยแบ่งออกเป็น 5 มิติคือ มิติทางด้านเทคนิค มิติเนื้อหา มิติความรู้ความเข้าใจ มิติการรู้คิด และมิติทางสังคม ในแต่ละมิติมีตัวชี้วัดและค่าน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามบริบทของระดับการศึกษา ระบบการประเมินห้องเรียนอัจฉริยะเสมือนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ส่วนคือ ส่วนการติดต่อผู้ใช้งาน ส่วนการประมวลผล ขั้นตอนวิธีการประมวลผล ตัวชี้วัดที่ใช้สำหรับการประเมิน และฐานข้อมูล ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้ภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ระบบสามารถแสดงผลการประเมินคุณภาพ 5 มิติในรูปแบบตัวเลขและกราฟฟิคและให้ข้อแนะนำสำหรับตัวชี้วัดที่ควรปรับปรุงในแต่ละมิติ การประเมินระบบ 3 ด้านคือ ด้านการฟังก์ชันการทำงานของระบบ การใช้งานและประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญที่จากระดับชั้นการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 5 คน พบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับดีทั้ง 3 ด้าน และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจากหน่วยงานด้านการศึกษาต่าง ๆ จำนวน 20 คน อยู่ในระดับดีมาก  
รายละเอียด: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5772
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:INF-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
THESIS_PHANTIGA_55560213.pdf2.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น