กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5854
ชื่อเรื่อง: เครื่องวัดคุณภาพน้ำยางพาราด้วยระบบดิจิตอล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Latex Quality Meter with Digital System
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิมิต บุญภิรมย์
พัศวีร์ ศรีโหมด
จรัล สว่างอรุณ
นิติพงศ์ ขุนทอง
คำสำคัญ: คำสำคัญ: เครื่องวัดคุณภาพน้ำยางพารา การวัดความหนืดด้วยลูกตุ้มเหล็ก
KEYWORDS: Latex Quality Meter, Falling Ball Viscosity Method,
วันที่เผยแพร่: ธันวาคม-2018
สำนักพิมพ์: SPU Conference2018
แหล่งอ้างอิง: [1] P.Danwanich, P.Lertsurasakda, R.Wiwattanasit , Correlation between Dry Rubber Content in Field Latex and Viscosity Measured with Efflux Time Method, TIChE ,Hatyai, Songkhla Thailand,2011. [2] ทศพร ห่านสิงห์และคณะ, การศึกษาการลดทอนกำลังคลื่นไมโครเวฟเมื่อผ่านน้ำยางพารา ปริญญานิพนธ์ คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2554. [3] หทัยชนก เพ็ชรมาตศรี, เทคนิคการวัดความหนืดโดยอาศัยการตกของวัตถุทรงกลม:บทบาทของ อิทธิพล ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555. [4] ประสิทธิ ศรประสิทธิ์และคณะ, ระบบตรวจวัดและประเมินผลเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง (%DRC) ในน้ำยางแบบกึ่งอัตโนมัติ, งานวิจัยดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช), 2557. [5] กาญบัญชา พานิชเจริญและชาญยุทธ์ อุปายโศล การพัฒนาชุดทดสอบคุณภาพน้ำยางพาราด้วยเครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย งานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2558.
บทคัดย่อ: บทความฉบับนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องวัดคุณภาพน้ำยางพาราด้วยระบบดิจิตอล โดยวัตถุประสงค์จะเป็นการสร้างเครื่องวัดคุณภาพของน้ำยางพาราเพื่อใช้วัดประเมินคุณภาพประกอบกระบวนซื้อขายน้ำยางพาราในระดับท้องถิ่นที่ใช้การอบไล่ความชื้นในน้ำยางพาราด้วยเตาไมโครเวฟก่อนนำมาชั่งเพื่อประเมินคุณภาพของน้ำยางพาราทำให้ใช้เวลานานและไม่แม่นยำ เครื่องวัดคุณภาพน้ำยางพาราที่ได้นำเสนอนี้จะใช้หลักการวัดความหนืดของน้ำยางพาราโดยใช้หลักการปล่อยลูกตุ้มเหล็กที่บรรจุน้ำยางพาราที่ต้องการวัดในหลอดแก้วขนาด 250 มิลลิลิตร และจับเวลาการเคลื่อนที่ของลูกตุ้มผ่านน้ำยางพาราจากปลายหลอดแก้วถึงก้นหลอดแก้ว น้ำยางพาราที่มีความเข้มข้นต่างกันจะได้เวลาการเคลื่อนที่ของลูกต้มเหล็กที่แตกต่างกัน แสดงถึงคุณภาพของน้ำยางพาราในรูปความเข้มข้นหรือมีส่วนผสมของน้ำที่แตกต่างกัน การควบคุมลูกตุ้มและจับเวลาจะประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ AVR เบอร์ MEGA16 ควบคุมการทำงานและตัวตรวจจับโลหะ เพื่อตรวจสอบเมื่อลูกตุ้มตกถึงก้นของหลอดแก้ว และแสดงผลของเวลาและคุณภาพออกจอ LCD เครื่องวัดคุณภาพน้ำยางพาราเราสามารถนำเครื่องวัดคุณภาพน้ำยางพาราเพื่อเปรียบเทียบกับการวัดด้วยการอบแบบดั้งเดิมและเครื่องมือวัดคุณภาพน้ำยางพารานี้ช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราประหยัดเวลาและเพิ่มความเที่ยงตรงในการหาคุณภาพน้ำยางพารา
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5854
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความวิจัยเรื่องเครื่องวัดคุณภาพน้ำยางพาราด้วยระบบดิจิตอล.pdf969.35 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น