กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5952
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธีรวัฒน์ นามคีรีen_US
dc.date.accessioned2019-03-07T06:52:12Z-
dc.date.available2019-03-07T06:52:12Z-
dc.date.issued2562-03-07-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5952-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractองค์กรอิสระในการปราบปรามการทุจริตหรือคอรัปชั่นเกี่ยวกับการใช้อำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีอำนาจมากเกินไปจนทำให้ กระทบต่อการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานของรัฐอื่นและระบบการบริหารราชการ ของฝ่ายปกครองในการใช้อำนาจฟ้องคดีได้เองถ้าพนักงานอัยการมีความเห็นไม่สั่งฟ้องและอำนาจ ในการลงโทษทางวินัยข้าราชการและคำสั่งของคณะกรรมการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุก นอกจากนั้น การใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังแทรกแซง การบริหารจัดการภาคธุรกิจในการจัดซื้อจัดจ้างกับรัฐและการออกประกาศในการห้ามมิให้ เจ้าหน้าที่และคู่สมรสดำเนินธุรกิจการค้าที่ส่งผลกระทบด้านการจำกัดเสรีภาพของบุคคลและการ ให้บุคคลรับผิดทางอาญาในการกระทำของผู้อื่นและการผลักภาระการพิสูจน์ทางอาญา จาก การศึกษาผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.)ในการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อผู้ดำรงตำแหน่งทาการเมืองควรให้คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีอำนาจในการฟ้องร้องได้เองโดยไม่มีเงื่อนไข และปัญหาการใช้อำนาจลงโทษทางวินัยข้าราชการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ควรสิ้นสุดเพียงการดำเนินการของข้าราชการซึ่งเป็นหัวหน้าของข้าราชการ ที่ถูกลงโทษทางวินัยเท่านั้นส่วนอำนาจของคณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) คงไม่มีอำนาจไปถึงคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ถ้าข้าราชการที่ถูกลงโทษทาง วินัย ส่วนปัญหาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต พ.ศ. 2542 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2554) แทรกแซงการบริหารจัดการภาคธุรกิจในการจัดซื้อจัด จ้างกับรัฐควรที่จะไม่ก้าวก่ายภาคธุรกิจมาจนอาจจะทำให้ไม่มีผู้ประกอบการอย่างแท้จริงเข้ามา ประมูลทำสัญญากับรัฐซึ่งจะมีเพียงตัวแทนในการประมูลงานกับรัฐเท่านั้น ส่วนปัญหามาตรา 100, 101 และมาตรา 122 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554) ควรมีการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 100, 101 และมาตรา 122 ดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักแห่งนิติธรรมมากยิ่งขึ้นและกรณีคู่ สมรสเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เห็นว่าตนถูกจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามประกาศของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มากเกินไปอาจใช้สิทธิฟ้องตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 28 วรรคสอง และใช้สิทธิตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ขอให้เพิกถอน ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดังกล่าวแล้วใช้สิทธิตาม มาตรา 211 แห่งรัฐธรรมนูญโต้แย้งว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554) ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและ ขอให้ศาลปกครองส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและในกรณีที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐถูกดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2554) เนื่องจากคู่สมรสได้ไป ประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามตามมาตรา 100 และเมื่อถูกฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาก็ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 วรรคสอง และมาตรา 211 ต่อสู้คดีโต้แย้งว่ามาตรา 122 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแลขอให้ศาลดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา วินิจฉัยต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectการใช้อำนาจen_US
dc.subjectคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)en_US
dc.title.alternativeLegal problems regarding power exercising of the National Anti-Corruption Commission (NACC)en_US
dc.typeThesisen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf111.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น