Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6010
Title: มาตรการทางกฎหมายในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
Other Titles: LEGAL MEASURES ON THE WILDLIFE CONSERVATION AND PROTECTION
Authors: สมลักษณ์ พรหมอินทร์
Keywords: การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
สัตว์ป่า
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 เกี่ยวกับระยะเวลาควบคุมตัวผู้กระทำความผิดเนื่องจากกฎหมายอนุญาตให้ควบคุมตัวผู้กระทำความผิดไว้เพื่อการสอบสวนเพียง 48 ชั่วโมงซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการสืบสวนขยายผลหาผู้ร่วมกระทำความผิดอื่นหรือผู้ที่ทำการจ้างวาน รวมถึงอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดูแลปกป้องสัตว์ป่านั้นมีอำนาจแค่จับกุม ปราบปรามการกระทำความผิดเท่านั้นไม่สามารถสอบสวนผู้กระทำความผิดเพื่อฟ้องคดีได้เองต้องนำตัวผู้กระทำความผิดส่งพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่นั้นทำการสอบสวนแต่บางครั้งพนักงานสอบสวนก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจบทบัญญัติทางกฎหมายได้ดีเท่ากับพนักงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี และถึงแม้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จะบัญญัติบทลงโทษไว้ก็ตามแต่อัตราโทษจำคุกและโทษปรับในส่วนของข้อหาล่าสัตว์ป่า การมีสัตว์ป่าซากสัตว์ป่าและมีผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ป่าซากนั้นน้อยเกินไปทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อโทษนั้น นอกจากนี้มีการจับกุมดำเนินคดีและศาลได้มีคำสั่งให้ริบของกลางจำพวกผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าแล้วของกลางเหล่านั้นต้องนำไปเก็บรักษาที่หน่วยงานของป่าไม้ซึ่งไม่ได้ใช้ทำประโยชน์แต่อย่างใด รวมทั้งมีการลักลอบนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อฝึกทำการแสดงโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากไม่มีหลักสูตรบัญญัติสำหรับการฝึกสัตว์ป่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย จากการศึกษาเห็นควรให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 สามารถควบคุมตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับสัตว์ป่าไว้ได้เป็นเวลา 3 วันอันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเวลาเพื่อขยายผลและสืบสวนสอบสวน รวมทั้งบัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่สัตว์มีอำนาจทำการสอบสวนผู้กระทำความผิดร่วมกับพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ควรเพิ่มอัตราโทษจำคุกและโทษปรับในฐานความผิดเกี่ยวกับการล่าสัตว์ป่า การมีสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่าหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท รวมทั้งเพิ่มโทษอีกเท่าหนึ่งสำหรับการกระทำความผิดซ้ำในการกระทำความผิดเกี่ยวกับสัตว์ป่า รวมถึงการนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ป่าหลังจากคดีถึงที่สุดและศาลสั่งริบของกลางโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำของกลางเหล่านั้นนำมาให้นักศึกษา นักวิชาการและประชาชนได้ชมและค้นคว้าวิจัย รวมทั้งทำตั๋วรูปพรรณสำหรับสัตว์ป่าที่ใช้สำหรับทำการแสดงและบัญญัติหลักสูตรการฝึกสอนสัตว์ป่าที่ใช้ฝึกทำการแสดงเพื่อควบคุมการฝึกสอนที่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6010
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf526.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.