Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6029
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทองเหมาะ พรประเสริฐผลen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T03:24:53Z-
dc.date.available2019-03-08T03:24:53Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6029-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73 วรรคสอง กรณีศึกษาเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ได้กำหนดให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กให้เจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กโดยไม่ได้กำหนดแนวทางให้บิดาและมารดาหรือผู้ปกครองของเด็ก เข้าไปวางข้อกำหนดในการดูแลหรือให้พนักงานสอบสวนจัดทำข้อกำหนดร่วมกับบิดา มารดาหรือ ผู้ปกครองในการดูแลเด็กและเยาวชน จึงพบว่าเด็กและเยาวชนไม่ได้รับการดูแลและได้รับความผูกพัน จากครอบครัวตามวัยของเด็กและเยาวชน อันเป็นการส่งผลกระทบต่อตัวเด็กและพัฒนาการของเด็ก ที่จะต้องได้รับการเลี้ยงดูจากบิดา มารดาของตนเอง นอกจากนั้นการที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 (2), (5) กำหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจโดยให้นำเงินมาเป็นเงื่อนไขให้บิดา มารดาต้องชำระต่อศาล ไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ถ้าเด็กกระทำความผิดนั้นอีก พบว่า การนำเงินมาเป็นเงื่อนไขให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องดูแลให้อยู่ภายในข้อกำหนดนั้นมิใช่เป็นแนวทางที่จะพัฒนานิสัยหรือพฤติกรรม ของเด็กได้จะต้องวางข้อกำหนดหรืออบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการที่จะสามารถเลี้ยงดูบุตรของตน แทนการนำเงินมาเป็นเงื่อนไช และในส่วนปัญหาที่พระราชบัญญัติศาลและเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 ใช้อายุของเด็กเป็นเงื่อนไขในการ ส่งไปโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรมหรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก พบว่า เป็นความ ยุติธรรมในการกำหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจ ถ้าเด็กมีอายุ 10 ปี ก็สามารถส่งไปสถานฝึกหรืออบรมหรือ สถานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกหรืออบรมได้ถึง 8 ปี แต่ถ้าเด็กนั้นมีอายุ 15 ปี ศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจได้เพียง 3 ปี เท่านั้น และในส่วนของการที่ศาลมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษอาญา หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยได้จนกว่าอายุ 24 ปีบริบูรณ์ เป็นกรณีที่ใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรม เด็กและเยาวชนในสถานพินิจนานเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาการถ่ายทอดคุณลักษณะนิสัยที่ไม่ดี ออกมาได้และปัญหาการกำหนดโทษและหลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษของผู้กระทำความผิดต่อเด็ก และเยาวชนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พบว่า มีการกำหนดระวางโทษจำคุกสูงสุด ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีอัตราโทษต่ำสุดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท กรณีดังกล่าวเป็นการกำหนดการลงโทษน้อยเกินไปจึงควรแก้ไข การลงโทษให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพและเกรงกลัวต่อการที่จะกระทำความผิดต่อ เด็กหรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectการลงโทษในคดีอาญาen_US
dc.subjectเด็กและเยาวชนen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษเด็กและเยาวชนในคดีอาญาen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS AND OBSTACLE RELATING TO CRIMINAL PUNISHMENT ON THE COMMISSION OF OFFENCE OF CHILD AND JUVENILEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf79.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.