กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6032
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรัตนะ ฐานยศปัญญาen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T03:30:37Z-
dc.date.available2019-03-08T03:30:37Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6032-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ได้นำระบบกล่าวหามาใช้ใน กระบวนการค้นหาความจริงทำให้ภาระหน้าที่การพิสูจน์ตกอยู่แก่โจทก์ผู้กล่าวอ้าง ก่อให้เกิดปัญหา ต่อการค้นหาความจริงจากพฤติการณ์แวดล้อมกรณีที่มีพฤติการณ์อื่นซึ่งโจทก์ไม่ได้นำเข้าสู่การสืบ พิสูจน์กรณีดังกล่าว ในกรณีที่ต้องการให้มีการประกันความเป็นธรรมแก่จำเลย โดยให้สิทธิฎีกาได้ นั้น ผู้วิจัยเห็นควรให้ยกเลิกหมวด 4 ว่าด้วยอุทธรณ์และฎีกา แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียา เสพติด พ.ศ.2550 เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญาที่สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ นอกจากนั้นปัญหาการใช้ดุลพินิจปล่อยตัวชั่วคราวใน คดียาเสพติด พบว่าไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ซึ่งมักจะพิจารณาในทางไม่อนุญาตเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับ ความยุติธรรมอย่างเพียงพอที่อาจจะถูกกลั่นแกล้งและไม่ได้กระทำความผิดในกรณีดังกล่าว นอกจากนี้ปัญหาด้านการจัดการคดียาเสพติดอย่างเป็นเอกภาพและแบ่งแยกการบริหารจัดการคดี ออกจากคดีทั่วไปโดยการจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลยุติธรรมเป็นการเฉพาะ พบว่ามีการจัดตั้ง แผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทั้งในส่วนที่ได้มีและยังไม่เคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้แก่คดีทั่วราชอาณาจักรและพัฒนาองค์ ความรู้ของบุคลากรในแผนกให้มีในระดับสากล จากเหตุผลข้างต้นและได้นำแนวทางของศาล อุทธรณ์มาสร้างบรรทัดฐานเช่นกันและยังเป็นข้อที่กำหนดให้พิจารณาในศาลเท่านั้นไม่มีการฎีกา จากผลการศึกษาผู้วิจัยจึงมีขอเสนอแนะว่า ควรนำระบบการพิจารณาคดีในระบบไต่สวนมาใช้ใน คดียาเสพติดเพื่อให้การสืบพยานมิใช่หน้าที่ของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นหน้าที่ของทั้งฝ่าย โจทก์ จำเลยและศาลเพื่อให้เป็ นการค้นหาความจริงอย่างครบถ้วนและรอบด้าน นอกจากนั้น สำหรับการพิจารณาการปล่อยชั่วคราวในคดียาเสพติดควรให้กำหนดวิธีการพิจารณาปล่อยชั่วคราว คดียาเสพติดไว้เป็นการเฉพาะในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 และควรให้มี การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดขึ้นในศาลชั้นต้นเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็ นเอกภาพและมี ประสิทธิภาพen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectวิธีพิจารณาen_US
dc.subjectคดียาเสพติดen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณา คดียาเสพติดen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEM AND OBSTACLE RELATING TO NARCOTICS CASE PROCEDUREen_US
dc.typeThesisen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
abstract.pdf79.43 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น