Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6034
Title: ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ศึกษากรณี: ความผิดฐานลักลอบขนคนเข้าเมือง
Other Titles: LEGAL PROBLEMS IN ENFORCING IMMIGRATION ACT B.E.2522, CASE STUDY OF OFFENSE OFSMUGGLING OF PERSONS INTO THE KINGDOM
Authors: กุสุมา รัตนวิจิตร
Keywords: การลักลอบขนคนเข้าเมือง
โยกย้ายถิ่นฐาน
คนเข้าเมือง
Issue Date: 8-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ศึกษากรณีความผิดฐานลักลอบขนคนเข้าเมือง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้ ผลจากการศึกษาพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในเรื่องของการปฏิเสธการเข้าเมืองกับบุคคลซึ่งกระทำความผิดฐานลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ในกรณีที่ทำให้เกิดอันตราย การปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรม การแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ยังไม่ได้ มีการบัญญัติไว้ในข้อห้ามสำหรับการเดินทางเข้าประเทศ และยังไม่ได้มีการเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดฐานลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในกรณีดังกล่าว นอกจากนี้ สำหรับผู้กระทำความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทางก็ยังไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นความผิดในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 โดยปฏิเสธการเดินทางเข้าเมืองกับบุคคลเหล่านี้ ส่งผลให้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 และพิธีสารต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ค.ศ.2000 ที่ประเทศไทยได้ไปลงนามและให้สัตยาบันไว้ ข้อเสนอแนะเห็นควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ด้วยการเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 12 ให้ระบุถึงเหตุปฏิเสธในการเข้าเมืองกับบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์ในการเป็นผู้ลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาในราชอาณาจักรในกรณีที่ทำให้เกิดอันตราย การปฏิบัติโดยไร้มนุษยธรรม หรือการแสวงหาประโยชน์ทางการเงิน หรือวัตถุอื่นจากผู้โยกย้ายถิ่นฐาน และเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 63 ให้กำหนดถึงเหตุเพิ่มโทษสำหรับผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง และเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 12 ให้กำหนดเหตุปฏิเสธในการเข้า เมืองหรือเพิกถอนการตรวจลงตรากับบุคคลซึ่งกระทำความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการเข้าเมืองที่ไม่ถูกกฎหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงิน หรือ วัตถุอื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งจะทำให้กฎหมายดังกล่าวสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6034
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf537.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.