กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6168
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ค่ากระแสลัดวงจรตามมาตรฐาน IEC60909 ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บวรวงศ์ วัธนไทยนันท์
โกศัลย์ สันติรักษ์โยธิน
เพขร นันทิวัฒนา
วิชชากร เฮงศรีธวัช
คำสำคัญ: กระแสลัดวงจร
เปอร์เซ็นต์อิมพีแดนซ์
เซอร์กิตเบรคเกอร์
ตู้จ่ายไฟประธาน
วันที่เผยแพร่: 20-ธันวาคม-2561
แหล่งอ้างอิง: การวิเคราะห์ค่ากระแสลัดวงจรตามมาตรฐาน IEC60909 ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง, การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13, 20 ธันวาคม 2561, หน้า 2409-2419
บทคัดย่อ: บทความนี้เป็นการนำเสนอกรณีศึกษาการคำนวณค่ากระแสลัดวงจรในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง เพื่อนำผลลัพธ์ที่สูงสุดมาวิเคราะห์ถึงความปลอดภัย ผลลัพธ์จากการคำนวณค่ากระแสลัดวงจรมีการใช้ตัวแปรของแรงดันระบบจำหน่ายที่ 416 V ค่าประกอบแรงดัน (C) เท่ากับ 1.1 ขนาดกำลังงานพิกัดหม้อแปลง 500 kVA (ใช้ค่าอิมพีแดนซ์ของหม้อแปลงตามมาตรฐานการผลิตของ IEC) โดยทำการคำนวณค่ากระแสลัดวงจรในระบบไฟฟ้าแรงต่ำประเภท สามเฟสสมดุล สายถึงสาย และสายถึงดิน ผลลัพธ์จากการคำนวณที่จุดแรกคือค่ากระแสลัดวงจรที่ตู้จ่ายไฟประธาน (MDB) ซึ่งมีระยะห่างจากหม้อแปลง 5 เมตร (ขนาดสาย IEC01 2x300 Sq.mm) พบว่าค่ากระแสลัดวงจรแบบสายถึงดินนั้นมีค่าสูงสุด (18.42 kA) และการคำนวณที่แผงวงจรย่อยที่มีระยะห่างออกไปจากตู้จ่ายไฟประธาน (MDB) ผลลัพธ์ของการคำนวณค่ากระแสลัดวงจรทั้งหมดพบว่าการลัดวงจรแบบสามเฟสสมดุลให้ค่าที่สูงที่สุด สุดท้ายผลลัพธ์ของค่ากระแสลัดวงจรจะนำมาเปรียบเทียบกับพิกัดความคงทนต่อกระแสลัดวงจรของเซอร์กิตเบรคเกอร์ (Ic) โดยความเหมาะสมของค่าดังกล่าวไม่ควรต่ำกว่า 125% ของกระแสลัดวงจรสูงสุด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6168
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
การวิเคราะห์ค่ากระแสลัดวงจรตามมาตรฐาน IEC60909 ของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง.pdf410.86 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น