Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6488
Title: การเข้าใจ เข้าถึงผู้เรียนยุคดิจิทัลด้วย DISC Model
Authors: วรรณี งามขจรกุลกิจ
Keywords: DISC
การเข้าใจเข้าถึง
Issue Date: 31-July-2019
Publisher: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน
Citation: สิรินธร สินจินดาวงศ์. (บรรณาธิการ). หนังสือประมวลบทความในงานประชุมวิชาการ นิทรรศการการเรียนการสอน ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562. 425 หน้า.
Abstract: การใช้แบบจำลอง Dominance (D), Influence (I), Steadiness (S), and Compliance (C) Model ที่เรียกย่อๆว่า DISC Model ในการศึกษาผู้เรียนนั้นมาจากการมีโอกาสเข้าโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Super Coach Super Growth โดยวิทยากรคือโค้ชตั๊ง กิตติภัฏ ชุณหวิริยะกุล ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิกฤติการศึกษามหาวิทยาลัยไทย และคำถามว่า ลูกศิษย์คาดหวังอะไรจากเรา? และเราคาดหวังอะไรจากลูกศิษย์? รวมทั้งการเข้าใจคนแต่ละประเภทด้วย DISC Model เพื่อความสำเร็จขององค์กร ทำให้เกิดความคิดว่าในการเรียนการสอนเพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงลูกศิษย์ในแต่ละกลุ่มเรียนในแต่ละชั้นเรียนของรายวิชาสามารถใช้ DISC Model มาศึกษาวิเคราะห์เช่นกัน ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษาโดยใช้ DISC Model วิเคราะห์ผู้เรียนแต่ละคนในชั้นเรียนรายวิชา CMM 258 การวิจัยทางการสื่อสาร ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 207 คน เพื่อให้ครู อาจารย์เกิดความเข้าใจและสามารถเข้าถึงผู้เรียนที่เป็นลูกศิษย์มากขึ้นจากเดิม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้ผู้เรียนลูกศิษย์แต่ละคนเข้าใจตัวเองว่ามีบุคลิกและพฤติกรรมเป็นคนลักษณะแบบใดใน DISC รวมทั้งยังทำให้เข้าใจเพื่อนร่วมชั้นเรียน รู้ว่าควรใช้วิธีการสื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงเพื่อนๆ และสิ่งสำคัญที่สุดคือตัวครู อาจารย์ ได้เรียนรู้เข้าใจผู้เรียนลูกศิษย์และสามารถค้นหาวิธีการในการโน้มน้าวจูงใจสร้างการเรียนรู้ให้เกิดการเข้าถึงผู้เรียนลูกศิษย์อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ในแต่ละกลุ่มงานมีสมาชิกที่เป็น DISC ผสมกันอยู่ในกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มีบุคลิกไปทางแบบ I และ S ส่วนกลุ่ม D และ C มีจำนวนน้อยกว่า เมื่อครู อาจารย์ เข้าใจลักษณะของผู้เรียนในแต่ละคนแต่ละกลุ่ม รวมทั้งผู้เรียนแต่ละกลุ่มรู้จักตัวตนบุคลิกลักษณะของเพื่อนๆร่วมกลุ่มและร่วมชั้นเรียนแล้ว ในการทำงานร่วมกันเป็นทีมจึงมีความง่ายในการเข้าใจเพื่อนร่วมกลุ่มงานรู้จักใช้วิธีการสื่อสาร ใช้คำพูดในการเข้าถึงเพื่อนๆในกลุ่ม และเพื่อนร่วมชั้นเรียน สิ่งสำคัญคือตัวครู อาจารย์ สามารถรู้จุดเด่นของสมาชิกในแต่ละกลุ่ม คาดคะเนลักษณะนิสัยใจคอ สิ่งที่ไม่ชอบ และสิ่งที่ควรพัฒนาโดยการสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับผู้เรียนแต่ละแบบมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการทำความเข้าใจ สื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มผู้เรียนแต่ละกลุ่มแต่ละคนในชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
Description: DISC Model เป็นการวิเคราะห์มนุษย์โดยการแบ่งรูปแบบพฤติกรรมที่พัฒนามาจากทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวคิดของ คาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung) นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกการศึกษาด้านพฤติกรรมมนุษย์ โดย วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน (William Moulton Marston) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เขียนหนังสือเรื่องลักษณะอารมณ์ของคนปกติ (The Emotions of Normal People) และจำแนกพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ (โกสินธุ์ อัคครุ่งเรือง, 2559) 1. D (Dominance) บุคลิกลักษณะมีความมุ่งมั่น จริงใจ เคลื่อนไหวรวดเร็วอย่างมีเป้าหมาย ชอบเห็นผลเร็ว หวังผลเลิศ ชอบลงมือทำงานด้วยตนเองมากกว่าฟังคนอื่นว่าตามกันมา ความรู้ที่ได้สั่งสมมาจึงมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเองจึงไม่เชื่อทฤษฎี โดยบุคลิกแล้วจะมีลักษณะดุดัน น้ำเสียงห้วนสั้น กระชับ อาจดูไม่สุภาพในสายตาผู้อื่น กล้าโต้แย้งพร้อมชนถ้าไม่เห็นด้วย ชอบอยู่แนวหน้า กล้าแสดงออก ชอบใช้พลัง มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อปัญหาต่างๆอย่างรวดเร็ว ชอบแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเอง กล้าตัดสินใจ ชอบการแข่งขัน กล้าเสี่ยง เอาจริงเอาจัง ใจกว้าง ไม่ค่อยยิ้ม เดินเร็ว แต่งกายเรียบง่าย ทำงานรวดเร็ว พูดจาเสียงดัง ไม่ประนีประนอม ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เอาแต่ใจ ไม่ค่อยฟังผู้อื่น ใจร้อน ตรงไปตรงมา พูดจาขวานผ่าซาก 2. I (Influence) บุคลิกชอบแสดงออก ช่างพูด ชอบเข้าสังคม มนุษยสัมพันธ์ดี ดูเป็นมิตร ชอบตามใจเพื่อน เปิดเผย มองโลกในแง่ดี ร่าเริง ท่าทางกระตือรือร้น มีอารมณ์อ่อนไหว จูงใจคนเก่ง เป็นคนชอบมองภาพรวมใหญ่ๆเชื่อมโยงเครือข่ายแบบสร้างสรรค์ ไม่ค่อยสนใจรายละเอียด มีจินตนาการสูง เป็นนักคิดนักฝันสูง ชอบเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ชอบคิดนอกกรอบ สนใจทุกเรื่องราวทำทุกเรื่อง จนบางครั้งทำให้ไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่อยู่กับอะไรนานๆ ไม่ชอบทำอะไรแบบซ้ำซากจำเจ เบื่อง่าย เป็นคนชอบอิสระสูง ชอบสร้างเรื่องประหลาดใจเสมอ อะไรที่เหนือความคาดหมายนั้นจะชอบเป็นพิเศษ ช่างคิด ชอบขายไอเดีย สมาธิสั้น เวลาคุยกันมักพูดออกนอกประเด็นไปเรื่อย ๆ ไม่ค่อยรักษากฏ 3. S (Steadiness) บุคลิกแสนดี มีลักษณะนิสัยใจเย็น เสมอต้นเสมอปลาย ทำอะไรเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ ถ่อมตัว ประนีประนอม เก็บความรู้สึกเก่ง พูดจานุ่มนวล ใส่ใจความรู้สึกผู้อื่น ไม่ชอบแสดงออก ชอบเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด แต่จะพูดเมื่อถูกถามและมักแสดงความเห็นด้วยกับผู้อื่นตลอดเวลา ขี้เกรงใจ คิดนาน และต้องการคำแนะนำจากผู้อื่น ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและอารมณ์สูง ชอบใช้ใจมากกว่าการใช้กำลัง ขับเคลื่อนพลังด้วยความรู้สึกที่ใส่ใจ ชอบช่วยเหลือดูแลคนรอบข้างแบบอบอุ่น ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หล่อเลี้ยงและดูแล ทำทุกวิถีทางที่ทำให้คนรอบข้างตัวรู้สึกดีอยู่เสมอ มีความเป็นผู้ให้สูง ชอบสนองความต้องการของผู้อื่นมากกว่าความต้องการของตนเอง ไม่ชอบเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง หลีกเลี่ยงการปะทะรุนแรง เป็นผู้ที่มีจิตวิทยาดีทำให้เกิดความราบรื่นในหมู่คณะ 4. C (Compliance) บุคลิกเรียบร้อย ชอบความสมบูรณ์แบบ มีระเบียบวินัยสูง ชอบวิเคราะห์วิจัย มีแบบแผนวิธีการทำงานที่ลงตัว ยึดติดกับรายละเอียดของการทำงาน มีความเชื่อความเป็นระบบระเบียบทำให้เกิดความสำเร็จ ไม่ชอบความวุ่นวาย มีความรอบคอบ มองทุกอย่างไปข้างหน้าเสมอ คิดล่วงหน้า ชอบวางแผนเป็นขั้นตอนอย่างมีตรรกะ เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ทำงานแบบใจเย็น มีหลักการเหตุผลสูง ไม่ค่อยยิ้ม มีชั้นเชิงในการพูด ไม่ชอบความเสี่ยง เน้นความชัดเจนถูกต้องให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงในเชิงลึก ละเอียดถี่ถ้วน การทำงานแต่ละครั้งต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา มีความระมัดระวังและรอบคอบสูง เป็นผู้นำที่หาความผิดพลาดได้ยาก เพราะมีหลักการทำงานแบบมีระบบระเบียบ เคร่งครัดต่อกฎเกณฑ์ มีปรัชญาในการทำงานในลักษณะที่เรียกว่าป้องกันดีกว่าแก้ไข ล้มเลิกทันทีหากเป้าหมายไม่ชัดเจน ไม่ชอบโต้แย้งความคิดผู้อื่น รักษาระยะและพื้นที่ตัวเองสูงไม่ให้ใครเข้ามาในชีวิตส่วนตัวมากนัก รักความสันโดษ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6488
ISBN: 978-974-655-464-0
Appears in Collections:CMU-01. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับนานาชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความTLC_ผศ.วรรณี งามขจรกุลกิจ .pdf492.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.