Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6592
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณรงค์ฤทธิ์ ญัตติอัครวงศ์th_TH
dc.date.accessioned2020-02-15T06:26:41Z-
dc.date.accessioned2020-02-15T06:26:44Z-
dc.date.available2020-02-15T06:26:41Z-
dc.date.available2020-02-15T06:26:44Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationณรงค์ฤทธิ์ ญัตติอัครวงศ์. (2562). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ : ศึกษากรณีการคุ้มครองนักท่องเที่ยว. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6592-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กรณีการคุ้มครองนักท่องเที่ยว โดยที่ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มนักท่องเที่ยวไม่ได้รับความคุ้มครอง เป็นที่มาของการเกิดเป็นประเด็นร้องเรียนและขอความเป็นธรรมกันอยู่บ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการละเลยต่อหน้าที่ของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและการบังคับใช้กฎหมายที่ยังขาดประสิทธิภาพ ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาการชดใช้เยียวยานักท่องเที่ยวกรณีการเดินทางขาเข้าและขาออกประเทศล่าช้า ในประเด็นนี้พบว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่ถูกกำหนดไว้ในการจัดทำโฆษณาหรือชี้ชวนตามมาตรา 26 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการเยียวยาในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากหลักเกณฑ์การเรียกร้องค่าเสียหายตามมาตรา 40 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็นการได้รับความเสียหายตามกรณีมาตรา 40 (2) ปัญหาเกี่ยวกับการคืนเงินประกันกรณีการเดินทางขาเข้าและขาออกประเทศล่าช้าแก่นักท่องเที่ยว ในประเด็นนี้ เนื่องด้วยยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้ในโฆษณาหรือชี้ชวนตามมาตรา 26 แต่ในทางปฏิบัติกลับมีการเรียกเก็บเงินประกันการท่องเที่ยวทุกครั้ง ด้วยข้อจำกัดของกฎหมายจึงส่งผลให้นักท่องเที่ยวมักไม่ได้รับเงินประกันกรณีการเดินทางขาเข้าและขาออกประเทศล่าช้าคืนจากบริษัทหรือผู้ประกอบการท่องเที่ยว ผู้เขียนจึงเห็นควรเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ประกอบด้วย (1) ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาตรา 26 โดยเพิ่มเติม (10) ความว่า “การชดใช้เยียวยานักท่องเที่ยวกรณีการเดินทางขาเข้าและขาออกประเทศล่าช้า” (2) ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 มาตรา 26 โดยเพิ่มเติม (11) ความว่า “การคืนเงินประกันกรณีการเดินทางขาเข้าและขาออกประเทศล่าช้าแก่นักท่องเที่ยว”th_TH
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.relation.ispartofseriesSPU_ณรงค์ฤทธิ์ ญัตติอัครวงศ์_T185461th_TH
dc.subjectการคุ้มครองนักท่องเที่ยวth_TH
dc.titleปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ : ศึกษากรณีการคุ้มครองนักท่องเที่ยวth_TH
dc.title.alternativePROBLEMS TO ENFORCE THE LAW OF TOURISM BUSINESS AND GUIDE: A CASE STUDY OF TOURIST PROTECTIONth_TH
dc.typeArticleth_TH
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา
LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ.pdf213.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.