กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6670
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE INFLUENCE OF SOCIAL SUPPORT AND QUALITY OF LIFE ON HAPPINESS OF ELDERLY PEOPLE IN BANGKOK PATHUM THANI NONTHABURI AND SAMUT PRAKAN
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล
คำสำคัญ: แรงสนับสนุนทางสังคม
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ความสุขของผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล.(2563). อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ. งานวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล_T186036_2563
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุและผลของผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรมเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย 1) เพื่อศึกษาระดับของแรงสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิต และความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ 2) เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรด้านส่วนบุคคลที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ 4) เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ 5) เพื่อจัดทำแนวทางการเสริมสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรีและสมุทรปราการจำนวน 384 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 และ .01
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2562
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6670
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:BUS-06. ผลงานวิจัย

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56575_กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล.pdf2.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น