กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6795
ชื่อเรื่อง: กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบิน ยุระรัช
คำสำคัญ: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจ กระบวนการเสริมสร้าง
วันที่เผยแพร่: 1-พฤษภาคม-2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับเครือข่ายวิจัยประชาชื่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Malayan Colleges Laguna (Philippines) Nong Lam University (Vietnam) Nanophotonics Research Center, Shenzhen University (China) Prince of Songkla University (Thailand) Kyushu Dental University (Japan) และ Universitas Kristen Maranatha (Indonesia)
แหล่งอ้างอิง: สุบิน ยุระรัช. (2563). กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. หนังสือประมวลบทความการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563 (The 5th RSU National and International Research Conference on Science and Technology, Social Science, and Humanities 2020 (RSUSSH 2020). วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต, 1053-1064.
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษากิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาปริญญาตรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เกษตรอำเภอ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี รวม 10 คน เครื่องมือวิจัยมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกภาคสนาม การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า (1) กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ของพระราชาในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 องค์ประกอบได้แก่ การบรรยายในห้องเรียน การเรียนรู้นอกห้องเรียน และการถอดบทเรียนจากการเรียนรู้ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ และ (2) กระบวนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักศึกษาปริญญาตรีเป็นผลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการลงพื้นที่ในสนามวิจัย โดยกระบวนการนี้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่มเพาะ การสร้างการรับรู้ การฝึกปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการเกิดองค์ความรู้และองค์ความคิด
รายละเอียด: เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6795
ISBN: 978-616-421-103-2
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_RES-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
RSUcon2020_สุบิน ยุระรัช_1053-1064.pdf862.89 kBAdobe PDFดู/เปิด
cover_20200507142423.pdf2.71 MBAdobe PDFดู/เปิด
สารบัญ_1053-1064.pdf364.41 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น