Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6800
Title: การประยุกต์ใช้ซอฟท์แวร์ Tekla Structures เพื่อประเมินปริมาณคอนกรีตและเหล็กเสริมของโครงสร้างสะพาน
Other Titles: Estimating of Concrete and Rebar Quantities of Bridge Foundations by Tekla Structures Software
Authors: จารุวรรณ พัตสุวรรณ
Keywords: ปริมาณงานเหล็กเสริม
ปริมาณงานคอนกรีต
เทคล้า
สมการถดถอย
ความคลาดเคลื่อนการวิเคราะห์หาค่าความคลาดเคลื่อน
Tekla Structures
Issue Date: 2563
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: จารุวรรณ พัตสุวรรณ. 2560. "การประยุกต์ใช้ซอฟท์แวร์ Tekla Structures เพื่อประเมินปริมาณคอนกรีตและเหล็กเสริมของโครงสร้างสะพาน." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_2559
Abstract: การประยุกต์ใช้ซอฟท์แวร์ Tekla Structures เพื่อประเมินปริมาณคอนกรีตและเหล็กเสริมของโครงสร้างสะพานมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาค่าอัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมและปริมาณคอนกรีตฐานรากโดยใช้โปรแกรมเทคล้า และเสาตอม่อสะพานข้ามคลอง 20 กม.ที่ 25+950 จากการศึกษาทรายถึงทฤษฎีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสะพานความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบสามมิติโดยใช้โปรแกรมเทคล้า (Tekla Structure Learning) หลักเกณฑ์การวัดปริมาณงานก่อสร้าง เกณฑ์การเผื่อและการคำนวณปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วยและทฤษฎีการวิเคราะห์จากสมการถดถอยและสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ จากการสร้างโมเดลจากโปรแกรมเทคล้า งานเหล็กเสริมและงานคอนกรีตของโครงสร้างฐานรากและตอม่อสะพาน สามารถถอดปริมาณงานโดยใช้คำสั่ง Report แล้วนำมาเก็บข้อมูลใส่ตาราง โดยกำหนดตัวแปร X คือปริมาณคอนกรีตและตัวแปร Y คือ น้ำหนักเหล็กเสริม ผลการศึกษาพบว่าได้สมการของการค่าอัตราส่วนระหว่างปริมาณงานเหล็กเสริมและปริมาณงานคอนกรีตของโครงสร้างฐานรากและเสาตอม่อ ได้ดังนี้ คือ ปริมาณงานสำหรับฐานราก สมการคือ Y = 227.38X และค่าสัมประสิทธิ์ตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.779 และจากปริมาณงานสำหรับเสาตอม่อ สมการคือ Y = 135.52X และค่าสัมประสิทธิ์ตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.9188 และได้ทำการนำข้อมูลที่ได้จากการคำนวณมือมาใช้เปรียบเทียบหาค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาณงานเหล็กเสริมและคอนกรีตของฐานรากและเสาตอม่อ มีค่าความคลาดเคลื่อน ซึ่งสมการดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในการถอดปริมาณงานก่อสร้างโครงการได้อย่างรวดเร็วแต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการถอดปริมาณงานก่อสร้างโดยวิธีการคำนวณมือ โปรแกรมเทคล้านั้นเป็นเพียงโปรแกรมการทดลองสำหรับนักศึกษา
Description: โครงงานสหกิจศึกษา
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6800
Appears in Collections:EGI-08. ผลงานนักศึกษา



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.