กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6834
ชื่อเรื่อง: การศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพค่าพลังงานความร้อนที่ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยด้วยวิธีการทางไอโอที
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพร ลีถิรไพบูลย์
ทีปกร คุณาพรวิวัฒน์
อภิรักษ์ สวัสดิ์กิจ
สุขใจ พรมประสานสุข
วิกร ธนรัตฉัตร
คำสำคัญ: ค่าพลังงานความร้อน , กระบวนการเป่าลมร้อน, บอมบ์แคลอริมิเตอร์, อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง
วันที่เผยแพร่: 15-กรกฎาคม-2563
สำนักพิมพ์: การประชุมเชิงวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 34
บทคัดย่อ: เนื่องจากปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมกับการพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และวิเคราะห์การทำงานของสายการผลิตหรือบางส่วนของสายการผลิตให้เป็น Automation System Integrator เพื่อพัฒนาให้การบริหารจัดการธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพจากทางเลือกในการปรับปรุงพัฒนาสถานประกอบการ ดังนั้นทางผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูลจาก หจก. รังสิตเศรษฐกิจการเกษตร ในการเก็บผลข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (OIT) โดยมีการรับส่งข้อมูลของค่าพลังงานความร้อนที่ได้จากเชื้อเพลิง คือ แกรบ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงในการทำความร้อยใหกับระบบเพื่อไล่ความชื้นในกระบวนการเป่าลมร้อน ซึ่งสามารถให้ค่าพลังงานความร้อนอยู่ในช่วงประมาณ 1100 ถึง 1200 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ปุ๋ยในกระบวนการเป่าลมร้อนเพื่อไล่ความชื้นลดลงได้ถึงร้อยละ 3 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ก่อนเข้าสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ ส่งผลให้ได้ผลิตภัณฑ์ในการดำเนินงานอยู่ทีประมาณ 40 ตัน ต่อครั้งการดำเนินงานอย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในกระบวนการเป่าลมร้อนด้วยแกรบนี้สูง ดังนั้นจึงใช้เชื้อเพลิงทดแทนแกรบ ซึ่งได้จากไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่หาได้ในพื้นที่ ซึ่งผลที่ได้คือผลิตภัณฑ์ในการดำเนินงานอยู่ที่ประมาณ 26 ตันต่อครั้งการดำเนินงาน ซึ่งลดลงจากเดิมโดยผลที่ได้จากการทดสอบ พบว่า ค่าพลังงานความร้อนที่ได้จากไม้ยูคาลิปตัสลดลงเหลือประมาณ 600 ถึง 650 องศาเซลเซียส ทางผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพเชื้อเพลิง ทำให้ได้ค่าความร้อนสูงจากเดิม 70 ถึง 120 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้นจากเดิม 7 เปอร์เซ็นต์ และส่งผลให้ได้มูลค่าเพิ่มขึ้นต่อการผลิตหนึ่งครั้งดำเนินงานสูงจากเดิม ซึ่งผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลผ่าน OIT ทำให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจากเดิม อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบการดำเนินการ และวิเคราะห์ผลได้อย่าง Real Time อีกด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6834
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
paper ME-Nett #34.pdf671.8 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น