กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6850
ชื่อเรื่อง: การเสริมกำลังอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยองค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: STRENGTHENING OF REINFORCED CONCRETE SCHOOL BUILDING WITH BUCKLING RESTRAINED BRACE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริพงษ์ พลพิมลพัฒน์
คำสำคัญ: องค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ
เสริมกำลังโครงสร้าง
วิธีการผลักแบบสถิติไม่เชิงเส้นแบบ 3 มิติ
วิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ภูริพงษ์ พลพิมลพัฒน์. 2556."การเสริมกำลังอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยองค์อาคารยึดไร้การโก่งเดาะ." วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการเสริมโครงสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวด้วยองค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ ในการศึกษานี้เลือกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อใช้เป็นอาคารต้นแบบ ในการประเมินกำลังโครงสร้างอาคาร ได้ทำการจำลองพฤติกรรมการรับแรงอินลาสติกของโครงสร้างแบบหน้าตัดไฟเบอร์ โดยใช้โปรแกรม PERFORM-3D และการวิเคราะห์โดยวิธีการผลักแบบสถิตย์ไม่เชิงเส้นแบบ 3 มิติ และด้วยวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวบริเวณพื้นที่จังหวัดแพร่ เพื่อประเมินระดับความเสียหายและรูปแบบความเสียหายของโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์พบว่า สำหรับโครงสร้างอาคารเดิม ผนังก่ออิฐโดยรอบอาคารและเสาคอนกรีตบริเวณขอบอาคาร เกิดการแตกร้าว โดยค่าความเครียดของคอนกรีตและเหล็กเสริมที่เสาบริเวณปลายบนและล่างที่จุดต่อเสาและคาน มีค่าเท่ากับ 1.56 ซึ่งสูงกว่าค่าตามมารตฐานคือ 1.0 หลังการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยวิธีองค์อาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะบริเวณขอบอาคาร พบว่าค่าความเครียดของคอนกรีตและเหล็กเสริมที่เสาบริเวณปลายบนและล่างที่จุดต่อเสาและคาน มีค่าเท่ากับ 0.96 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานคือ 1.0 และค่าการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นอาคารมีค่าเท่ากับ 1.5% บริเวณเสาชั้นล่าง ซึ่งต่ำกว่าค่าที่ยอมให้ตามมาตรฐานคือ 2% ดังนั้นสามารถใช้วิธีการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยองค์อาคารรั้งยึดไร้การโก่งเดาะกับอาคารตัวอย่างได้
รายละเอียด: ตาราง และรูปภาพ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6850
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น