Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7211
Title: ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานในด้านสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Authors: สมพงษ์ สุวรรณโฆษิต
Keywords: ความคิดเห็น
การบริหารงาน
องค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก
Issue Date: 2546
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานในด้านสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ที่อยู่อาศัยและรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก พ.ศ. 2543 จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตรฐานส่วนประมารค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way analysis of variance) และถ้าพบว่ามีความแตกต่างกัน จึงทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการวิจัย พบว่า 1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานในด้านสังคมศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง 2. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานในด้านสังคมศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสำนักบก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง ไม่แตกต่างกันระหว่างผู้มีรายได้ 5,000 บาท และน้อยกว่า 5,000 บาท และมากกว่ามีความแตกต่างกัน โดยประชาชนที่มีรายได้ 5,000 บาทและมากกว่า มีค่าเฉลี่ยมากกว่าประชาชนที่มีรายได้ 5,000 บาทและน้อยกว่า รหว่างอายุ 18-30 ปี 31-59 ปี และ 60 ปี ขึ้นไป พบว่ามีความแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยมากกว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-30 ปี และ 31-59 ปี รหว่างอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย รับจ้าง พนักงานบริษัท รับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีความแตกต่างกัน โดยผู้ที่มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีค่าเฉลี่ยมากกว่าผู้ที่มีอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพรับจ้าง และผู้ที่มีอาชีพค้าขายก็มีค่าเฉลี่ยมากกว่าอาชีพรับจ้างและอาชีพเกษตรกรรม และระหว่างที่อยู่อาศัย หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 6 มีความแตกต่างกัน โดยหมู่ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยมากกว่าหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 2 มากกว่าหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 3 มากกว่าหมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 มากกว่าหมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 มากกว่าหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7211
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ.pdf107.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.