Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปุณณดา อินทรเทศth_TH
dc.date.accessioned2021-02-04T04:02:31Z-
dc.date.available2021-02-04T04:02:31Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7264-
dc.description.abstractในการก่อสร้างอาคารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชน แม้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 จะได้กำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยให้เจ้าของโครงการต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินการก่อสร้างอาคาร ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นกระบวนการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ดี แต่อย่างไรก็ตามในกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนถึงขั้นตอนการก่อสร้างอาคารยังมีปัญหาเกิดขึ้นทั้งในแง่รูปแบบประเภทของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กระบวนการพิจารณาอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความซ้ำซ้อนในการใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐและการบังคับใช้กฎหมาย จากการศึกษาพบว่า ในกระบวนการพิจารณาอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กฎหมายเปิดช่องให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการสามารถใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง จนอาจทำให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม ประกอบกับไม่มีมาตรการในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่หรือบทบัญญัติของกฎหมายที่เปิดช่องให้มีกระบวนการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวได้ นอกจากนี้กฎหมายสิ่งแวดล้อมมิได้มีกลไกเป็นของตนเองในการบังคับให้เจ้าของโครงการต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จนทำให้เกิดช่องว่างของกฎหมายเจ้าของโครงการจึงใช้เป็นช่องทางหลีกเลี่ยงการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการดำเนินการก่อสร้างอาคารเจ้าของโครงการจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายควบคุมอาคาร ปัญหาที่ตามมาคือ เกิดความซ้ำซ้อนในการใช้กฎหมายทั้งในแง่ของการดำเนินงานและการบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องขาดความสอดต้องคล้องกันในเรื่องของการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม จนทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายจึงเห็นควรมีกระบวนการทางกฎหมายในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ แก้ไขปัญหาช่องว่างของกฎหมาย กำหนดบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อให้กฎหมายทั้งสองฉบับมีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกัน สามารถบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ตามที่กำหนดในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการก่อสร้างอาคารth_TH
dc.subjectผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.subjectสุขอนามัยth_TH
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ.pdf128.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.