Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7268
Title: ความยุติธรรมทางเลือกกับคดีครอบครัว
Other Titles: Alternative Dispute Resolution: A Choice of Justice in the Family Litigation
Authors: ผศ.ทัชชภร มหาแถลง
Keywords: คดีครอบครัว ศาลเยาวชนและครอบครัว การไกล่เกลี่ย การประนอม
Family case, Juvenile and Family Court, Mediation and Conciliation
Issue Date: 20-December-2561
Publisher: การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุมครั้งที่ 13
Citation: คดีครอบครัว ศาลเยาวชนและครอบครัว การไกล่เกลี่ย การประนอม,Family case, Juvenile and Family Court, Mediation and Conciliation
Abstract: ในกระบวนการยุติธรรมสำหรับคดีครอบครัวมิได้มีเพียงแต่การฟ้องคดีเพื่อตัดสินข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทได้ หากแต่ยังมีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในหลายรูปแบบที่สามารถช่วยให้คู่พิพาทได้เลือกใช้วิธีการระงับข้อพิพาท อีกทั้งยังเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดี ตกลงกันอย่างฉันท์มิตรและสร้างความเข้าใจให้กันได้ การระงับข้อพิพาททางเลือก จะเริ่มต้นจากการเจรจาต่อรองซึ่งเป็นกระบวนการแรกสุดเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างตัวบุคคล แต่หากการพูดคุยทั้งสองฝ่ายไม่เป็นผลจึงอาจต้องมีบุคคลที่สามที่ทั้งสองฝ่ายให้การยอมรับเข้าช่วยเป็นตัวกลางประสานให้ทั้งสองฝ่ายบอกความต้องการและมุ่งหาทางออกร่วมกัน กระบวนการระงับข้อพิพาทดังกล่าวนี้เรียกว่า การไกล่เกลี่ย หรือการประนอม สำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในครอบครัวถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ดังนั้น การแก้ไขปัญหาจึงควรเป็นไปด้วยความเข้าใจและรักษาความสัมพันธ์อันดีต่อกันให้ได้มากที่สุด โดยที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้กำหนดเกี่ยวกับกระบวนการประนอมไว้ในหมวด 13 การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัว เพื่อให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมในข้อพิพาทโดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันของครอบครัวเป็นหลัก
Description: ความขัดแย้งเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญและเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกสังคม หากแต่ความขัดแย้งนั้นสามารถแก้ไขได้หลากหลายวิธีการโดยวิธีการแก้ไขอาจไม่จำต้องใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขเท่านั้น แต่ยังมีกระบวนการจัดการความขัดแย้งอีกหลายวิธีนอกจากการนำคดีฟ้องต่อศาลให้สามารถนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นได้ โดยที่จริงแล้วขั้นตอนการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งในคดีครอบครัวสามารถทำได้โดยวิธีการประนอมและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งวิธีการดังกล่าวย่อมส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ในอนาคตมากกว่าการฟ้องร้องคดีในชั้นศาล
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7268
Appears in Collections:LAW-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.