กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7306
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่: กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดระยอง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อมรเทพ เขี้ยวสิงห์
คำสำคัญ: ความคิดเห็นของประชาชน
การบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่
วันที่เผยแพร่: 2543
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดระยองจำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ประเมินผลค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไค-สแควร์ (Chi-Square Test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่ ในด้านการวางแผนการจัดองค์การ การสั่งการ การประสานงาน และการควบคุมกำกับดูแล ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง 2. เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่ 3. อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการการเลือกตั้งระบบใหม่ 4. การศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางสถิติกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่ (p < .05) 5. อาชีพ มีความสัมพันธ์กันทางสถิติกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารการจัดการเลือกตั้งระบบใหม่ (p < .05)
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7306
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทคัดย่อ.pdf76.91 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น