Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7568
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยศพนธ์ อ่อนตาth_TH
dc.date.accessioned2021-05-28T05:08:19Z-
dc.date.available2021-05-28T05:08:19Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7568-
dc.description.abstractการปกครองตนเอง ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศที่มีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็น รูปแบบที่แสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตของตนเองด้วยตนเองและเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อให้การบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านต่าง ๆ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งจะทำให้การบริหารกิจการและการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้อง และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจให้ป ระชาชน ในท้องถิ่น สามารถปกครองตนเอง และในขณะเดียวกันมุ่งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการตนเองการกำหนดทิศทางและการดูแลแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เพราะฉะนั้นในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการท้องถิ่น จึงต้องคำนึงถึงบริบทหรือลักษณะของสังคมท้องถิ่น เป็นสำคัญ อาทิเช่นสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และประชาชนทั้งในฐานะปัจเจกชน ชุมชน และเครือข่ายชุมชน จากการศึกษาพบว่าบทบาท หน้าที่ หรือภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน 2551 พ.ศ. ส่วนใหญ่มีความไม่สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจในการให้ชุมชนมีสิทธิเข้าร่วมในการบริหารกิจการท้องถิ่น หรือการจัดทำบริการสาธารณะ เนื่องจากโครงสร้างการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มุ่งให้ความสำคัญกับตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น จึงทำให้ชุมชนหรือกลุ่มองค์กรชุมชนซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาอยู่ในท้องถิ่นของตนเองไม่อาจมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการท้องถิ่น หรือการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปสู่การบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่สามารถแก้ปัญหาหรืตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และเมื่อพิจารณา พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สภาองค์กรชุมชน ช่วยหนุนเสริม การพัฒนาท้องถิ่น พบว่าในส่วนของบทบาทหน้าที่ หรือภารกิจของสภาองค์กรชุมชนตำบลกลับไม่มี สภาพบังคับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าวควรกำหนดให้สภาองค์กรชุมตำบลมีอำนาจหน้าที่ เพื่อให้สอดคล้องต่อหลักการกระจายอำนาจ และเพื่อให้สภาองค์กรชุมชนตำบล มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการท้องถิ่นหรือการจัดทำบริการสาธารณะผ่านทางโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยการให้สภาองค์กรชุมชนตำบลมีส่วนร่วมอย่างถาวร ในฐานะผู้แทนประชาคมท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ จัดให้มีเวทีชุมชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้สภาองค์กรชุมชนตำบลอาจมีหนังสือเชิญเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วน ท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐให้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น มอบเอกสาร หรือให้ข้อมูลข่าวสาร ตามที่เห็นสมควรและกำหนดให้สภาองค์กรชุมชนตำบลมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการอยู่ในตำบล รวมทั้งตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectสภาองค์กรชุมชนตำบลth_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551th_TH
dc.titleอำนาจหน้าที่ของสภาองค์กรชุมชนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551th_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf139.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.