Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7587
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ: ศึกษากรณี เกษตรพันธะสัญญา
Authors: ชาญชัย วีระโพธิ์ประสิทธิ์
Keywords: กฎหมายแรงงาน
เกษตรพันธะสัญญา
Issue Date: 2553
Abstract: การจ้างแรงงานนอกระบบในประเทศไทยเกิดความต้องการทางผลผลิตในการประกอบในตลาดโลก และเกิดจากการผลักดันกลุ่มทุนธุรกิจการเกษตร ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินการในรูปแบบเกษตรครบวงจร การทำเกษตรพันธะสัญญาระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการก่อให้เกิดข้อตกลงในสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แม้รัฐจะได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อจำกัดในการบังคับใช้ ก่อให้เกิดผลหลายประการในอันจะบังคับใช้กฎหมาย เนื่องด้วยรูปแบบของเกษตรพันธะสัญญาซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ ทั้งแบบลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งการที่พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จะเข้ามาคุ้มครองสัญญาที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษร แต่การทำสัญญาในระบบเกษตรพันธะสัญญามีทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้สัญญาบางส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือพิสูจน์ไม่ได้ว่าทำกันเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ สัญญาที่ใช้ในระบบเกษตรพันธะสัญญาโดยมากจะเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่ได้มีลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติของกฎหมายในลักษณะจ้างแรงงานมาใช้บังคับได้ และทำให้มีผลสืบเนื่องต่อไปว่ามิอาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์มาใช้กับระบบเกษตรพันธะสัญญาด้วยเช่นกัน จากกรณีแรงงานนอกระบบเกษตรพันธะสัญญามีปัญหาคุณภาพชีวิตในด้านอาชีวอนามัย แต่กรณีดังกล่าวภาครัฐมิได้มีการบริการทางด้านอาชีวอนามัยอย่างเป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับแรงงานซึ่งมีความเสี่ยงภัยสูงจากการทำเกษตรพันธะสัญญา ดังนั้นประเทศไทยควรมีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมเกษตรพันธะสัญญาการบริการทางด้านอาชีวอนามัยให้แก่เกษตรกรในระบบเกษตรพันธะสัญญา เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีในการทำงาน ตลอดจนคุ้มครองการขยายความคุ้มครองการประกันสังคมให้ครอบคลุมเช่นเดียวกับแรงงานในระบบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7587
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ชาญชัย วีระโพธิ์ประสิทธิ์.pdf182.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.