Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7594
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุญฤทธิ์ ปฏิสนธิราภาth_TH
dc.date.accessioned2021-06-09T03:00:25Z-
dc.date.available2021-06-09T03:00:25Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7594-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองและการเยียวยาผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการระบุคำเตือนลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ การแจ้งและการกำหนดให้มีแพทย์เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ความเสียหายและการเยียวยาผู้บริโภคกรณีผลิตภัณฑ์ขาดประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แม้จะกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องระบุคำเตือนลงบนฉลากผลิตภัณฑ์ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงความเสี่ยงอย่างอื่นที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้เป็นการเฉพาะ และพบว่าการพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ได้กำหนดให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการกำหนดให้มีพยานผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ความเสียหาย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่เป็นการเยียวยาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เพราะสารเคมีทางวิทยาศาสตร์แต่ละชนิดต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพิสูจน์เกี่ยวกับผลข้างเคียง ความรุนแรง ระยะเวลาในการรักษา และค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมทั้งการเยียวยาความเสียหายในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ขาดประสิทธิภาพ แม้ผู้บริโภคจะสามารถเข้าร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือฟ้องร้องต่อศาลในคดีผู้บริโภคได้ก้ตาม แต่กลับพบข้อมูลว่ามีการร้องเรียนจำนวนน้อยและไม่มีข้อมูลการฟ้องคดีเนื่องจากไม่คุ้มค่าต่อค่าใช้จ่ายและเวลาในการดำเนินการเมื่อเทียบกับราคาของผลิตภัณฑ์ จึงเห็นควรให้มีการกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุคำเตือนเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์และได้รับความปลอดภัยมากที่สุด เพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากผลิตภัณฑ์บนฉลาก และการพิจารณาคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ต้องกำหนดให้ศาลมีหน้าที่ในการแจ้งให้คู่ความทราบและเรียกแพทย์เข้ามาเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในคดรแทนที่จะให้เป็นดุลยพินิจของศาล และถ้าผลิตภัณฑ์ขาดประสิทธิภาพเกินกว่าที่ได้กล่าวอ้าง ควรกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้า เพื่อก่อให้เกิดการคุ้มครองและการเยียวยาแก่ผู้บริโภคที่ดียิ่งขึ้นต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectผู้ประกอบธุรกืจth_TH
dc.subjectการคุ้มครองและการเยียวยาth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองและเยียวยาผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บุญฤทธิ์ ปฏิสนธิราภา.pdf189.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.