กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7664
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบิน ยุระรัช
คำสำคัญ: คุณภาพงานวิจัย แบบวินิจฉัย ความตรงเชิงเนื้อหา
Research Quality, Diagnostic Form, Content Validity
วันที่เผยแพร่: 8-มิถุนายน-2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
แหล่งอ้างอิง: สุบิน ยุระรัช. (2564). การพัฒนาแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานทางวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (The 5th UTCC National Conference). วันที่ 8 มิถุนายน 2564 (ออนไลน์), 1428-1445.
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยสถาบัน เรื่อง ระบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัยก่อนเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ (1) เพื่อพัฒนาแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย ตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 คน ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 คน ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์ 1 คน และผู้เชี่ยวชาญการวัดและประเมินผล 2 คน รวมจำนวน 9 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยของดัชนีของความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของการวัด (Index of Item – Objective Congruence: IOC) ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย มีหัวข้อในการประเมินจำนวน 12 ประเด็น รวม 24 ข้อคำถาม และ (2) แบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงเนื้อหา This study is part of the institutional research on the diagnostic system of research quality before an academic position submission. The objectives of this study were (1) to develop a research quality diagnostic form, and (2) to analyze the content validity of the research quality diagnostic form. The sample were nine experts consisting of three research specialists in science and technology, three research specialists in social sciences and humanities, one research specialist in fine arts, and two experts in measurement and evaluation. The research instrument was a content validity evaluation form. The researcher manually collected the data himself. The data was analyzed by means of the Index of Item - Objective Congruence (IOC). The research results were found that (1) the research quality form comprises 12 assessment topics, including 24 questions, and (2) the developed research quality diagnostic form was contentiously valid.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7664
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_RES-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
การพัฒนาแบบวินิจฉัยคุณภาพของงานวิจัย-UTCCcon-8.06.21.pdf4.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น