กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7668
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้กระบวนการแบบจำลองข้อมูลอาคารจัดทำรายการบัญชีการตัดเหล็ก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพจิตร ผาวันและ ปัณณาสิศ สัญญาโณ
คำสำคัญ: แบบจำลองข้อมูลอาคาร
รายการบัญชีการตัดเหล็ก
วันที่เผยแพร่: 25-มิถุนายน-2021
สำนักพิมพ์: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26
หมายเลขชุด/รายงาน: CEM-20
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้กระบวนการแบบจำลองข้อมูลอาคารทำรายการบัญชีการตัดเหล็กโดยอาศัยทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้นช่วยในการวิเคราะห์หาปริมาณเศษเหล็กของเสาโครงการอาคารเรียน 4 ชั้น324ล-55 ต้านแผนดินไหว การศึกษาเริ่มจากกำหนดรูปแบบการต่อทาบเหล็กยืนที่เป็นไปได้ตามมาตรฐานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กต้านแผ่นดินไหว มยพ. 1301/1302-61 ทั้งสิ้น3 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบท่ี1(C1-1) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น2 รูปแบบที่2(C1-2) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางชั้น3 และรูปแบบที่3(C1-3) ต่อทาบเหล็กยืนกึ่งกลางทุกชั้นด้วยซอฟท์แวร์บิม“ออโต้เดสก์เรวิท” ประมวลผลออกมาเป็นตารางรายการบัญชีการตัดเหล็กจากนั้นนำรูปการดัดเหล็ก(Rebar Number) ในตารางรายการบัญชีการตัดเหล็กมากำหนดตัวแปรการตัดเหล็กเพื่อหาค่าความเหมาะสมการตัดเหล็กโดยแบ่งออกเป็นกลุ่มความยาวเหล็กเส้นเป็น3 กลุ่ม ความยาวเหล็กเส้น10.00 เมตร 12.00 เมตร และความยาวผสมระหว่าง10.00 เมตร กับ12.00 เมตร ร่วมกับรูปแบบทั้ง3 รูปแบบ พบว่าการจัดทำบัญชีรายการตัดเหล็กของเสารูปแบบ C1-2 และใช้ความยาวเหล็กเส้น12.00 เมตร ได้ปริมาณเหล็กน้อยที่สุดคือ34,635 กิโลกรัมเศษเหล็กเหลือ1,832.17 กิโลกรัมคิดเป็นอัตราส่วนเศษเหล็กต่อปริมาณการใช้เท่ากับ5.29 จึงแสดงให้เห็นว่าการใช้ทฤษฎีโปรแกรมเชิงเส้นควบคู่ไปกับการใช้ซอฟท์แวร์บิมจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7668
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความโยธาแห่งชาติ26 ยื่นผศ.pdf1.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น