กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7838
ชื่อเรื่อง: มาตรการบังคับใช้กฎหมายล้างมลทินแก่ผู้ต้องโทษอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE MEASURE ENFORCING THE ABSOLUTION LAW TOWARDS THE CRIMINAL CONVICT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มณทิชา ทิมะณี
คำสำคัญ: การล้างมลทิน
ผู้ต้องโทษ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: SRIPATUM UNIVERSITY
แหล่งอ้างอิง: มณทิชา ทิมะณี. 2561. "มาตรการบังคับใช้กฎหมายล้างมลทินแก่ผู้ต้องโทษอาญา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_2561
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง แนวคิด ที่มาของกฎหมายล้างมลทินเพื่อให้ทราบถึงความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของการบังคับใช้ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายล้างมลทินแก่ผู้ต้องโทษอาญา โดยศึกษาเฉพาะพระราชบัญญัติล้างมลทิน พ.ศ.2550 เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายล้างมลทินในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ต้องโทษอาญาให้มีความชัดเจนและบังคับใช้อย่างเป็นธรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่า การล้างมลทิน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้แก้ไขปรับปรุงตัวและกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่พระราชบัญญัติล้างมลทิน พ.ศ.2550 มาตรา 4 ระบุหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การล้างมลทิน ที่ต้องการให้ผู้ถูกลงโทษได้รับโอกาสจากการล้างมลทิน นอกจากนี้กฎหมายยังมีการบังคับใช้โดยเจาะจงเฉพาะคนบางกลุ่ม ซึ่งขัดต่อแนวคิดเรื่องหลักความเสมอภาค ที่บุคคลจะต้องเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน รวมถึงผลการล้างมลทินที่เป็นการลบล้างเฉพาะโทษแต่ไม่รวมถึงการกระทำ ผลการล้างมลทินจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ได้รับการล้างมลทินอย่างแท้จริงและขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7838
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น