Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7884
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอุไรพร ขุนพระบาทth_TH
dc.date.accessioned2021-12-31T09:28:02Z-
dc.date.available2021-12-31T09:28:02Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationอุไรพร ขุนพระบาท. 2554. "สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวกับการคุ้มครองตามกฎหมายไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7884-
dc.description.abstractสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญประเภทหนึ่งที่ถือว่ามีติดตัวบุคคลมาตั้งแต่เกิด คือสิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง โดยปลอดจากการแทรกสอดในความเป็นอยู่ส่วนตัว ซึ่งการแทรกสอดนั้นทำให้ได้รับความอับอาย เดือดร้อน รำคาญใจ สูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในความเป็นตัวของตัวเอง ที่จะดำเนินชีวิตตามที่ตนต้องการ หรือ การนำชื่อ ภาพ หรือข้อมูลส่วนบุคคลไปหาประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งในสังคมปัจจุบันได้เริ่มมีการกล่าวอ้างถึงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวกันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น การนำภาพหรือเรื่องราวส่วนตัวไปเปิดเผยต่อสาธารณะ อันทำให้บุคคลนั้นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญใจ ซึ่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว ถือเป็นสิทธิประเภทหนึ่งที่ต่างประเทศให้ความสำคัญและคุ้มครองมาอย่างช้านาน สำหรับสังคมไทยในปัจจุบัน ควรที่จะให้ความสนใจในเรื่องนี้กันมากขึ้น เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล หรือสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว รวมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบไว้ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายระดับรองลงมา เช่น ประมวลกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง มาพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันกฎหมายที่นำมาใช้บังคับ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด และประมวลกฎหมายอาญาในฐานความผิดต่อชื่อเสียง จึงเป็นการสมควรวิจัยเพื่อพิจารณาแนวทางในการให้ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เพื่อสนองรับกับความจำเป็นที่สังคมไทยควรจะต้องมีในสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของปัจเจกชนรวมทั้งบุคคลซึ่งมีสถานะเป็นบุคคลสาธารณะด้วย โดยวิธีการวิจัยได้ศึกษาโดยนำกฎหมายในเรื่องนี้ของสาธารณรัฐไต้หวันและประเทศญี่ปุ่นมาศึกษาด้วย จากการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในเรื่องนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าการให้ความคุ้มครองแก่สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวโดยนำบทบัญญัติอื่นๆ มาปรับใช้ แม้จะได้ผลดีในระดับหนึ่งแต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ควรออกเป็นกฎหมายบัญญัติในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของเอกชน หรือกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวที่ชัดเจนและเกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกัน ทั้งฝ่ายศาล อัยการ ทนายความและประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และควรมีการกำหนดค่าเสียหายทางด้านจิตใจให้ชัดเจน โดยที่การกระทำที่เป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เป็นการกระทำที่กระทบถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจซึ่งยากที่จะเยียวยาให้เหมือนเดิม นอกจากนี้ในกรณีของบุคคลสาธารณะ ซึ่งในทางกฎหมายถือว่าจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวน้อยกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป ในทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจึงต้องให้ความคุ้มครองแก่บุคคลสาธารณะ ทั้งนี้บุคคลสาธารณะย่อมเป็นเงื่อนไขพิเศษที่ควรจะได้รับการพิจารณาแตกต่างไปจากบุคคลธรรมดาth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวth_TH
dc.subjectการคุ้มครองth_TH
dc.subjectกฎหมายไทยth_TH
dc.titleสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวกับการคุ้มครองตามกฎหมายไทยth_TH
dc.title.alternativeRIGHT OF PRIVACY AND PROTECTION UBDER THAI LAWth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ปกใน.pdf19.04 kBAdobe PDFView/Open
บทคัดย่อ.pdf48.72 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.