Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7939
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกรินทร โตรักตระกูลth_TH
dc.date.accessioned2022-01-14T03:30:04Z-
dc.date.available2022-01-14T03:30:04Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationกรินทร โตรักตระกูล. 2563. "การพัฒนากฎหมายกำกับดูแลมัคคุเทศก์." บทความ สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7939-
dc.description.abstractในปัจจุบันการท่องเที่ยวนั้นเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เมื่อสังคมประเทศไทยทุกวันนี้มีความเปิดกว้าง ให้เสรีภาพแก่คนมากขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนทุกคนย่อมไปเที่ยวทั้งในประเทศของตนและต่างประเทศ เมื่อการเดินทางระหว่างประเทศสามารถเดินทางได้โดยสะดวกและไม่ยุ่งยากมากขึ้น ประกอบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทำให้สามารถมีการติดต่อกันระหว่างประเทศได้มากขึ้น จึงมีอาชีพการนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์เกิดขึ้น เมื่อจำนวนมัคคุเทศก์มีมากขึ้น จึงเกิดการแข่งขันทำให้เกิดเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวจนกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินให้กับประเทศมากขึ้น ดังนั้นจึงควรทำให้ทุกอย่างเป็นระบบเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ คนที่ไปท่องเที่ยวนั้นย่อมต้องการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ อย่างถูกต้องทั้งเรื่องประวัติของสถานที่นั้น ๆ วัฒนธรรม ภาษา และอื่น ๆ แต่ก็ยังพบปัญหาอยู่สองกรณี ได้แก่ การมีมัคคุเทศก์ที่ไม่มีใบอนุญาต กับ Sitting Guide หรือการที่มัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตรับจ้างนั่งรถไปกับทัวร์เพื่อให้ครบองค์ประกอบว่ามีมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตนำเที่ยวแล้ว แต่มัคคุเทศก์คนที่เป็น Sitting Guide นั้น ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์จริง ๆ แต่จะมีมัคคุเทศก์ชาวต่างชาติคอยทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์อยู่ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคืออาจจะทำให้นักท่องเที่ยวไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ อย่างถูกต้องครบถ้วน หรือได้รับข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไป ซึ่งส่วนหนึ่งในการเกิดปัญหาดังกล่าวเนื่องจากการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะทำการขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นการกำหนดคุณสมบัติที่สูงเกินไป ในหลาย ๆ คนไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาตามที่กำหนดทำให้ไม่สามารถขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ จากการศึกษาในประเทศอื่น ๆ การจะขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ไม่มีการกำหนดคุณสมบัติมากเท่าของประเทศไทย เพียงแต่มีการกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานไว้เท่านั้น เช่น ต้องมีการผ่านการอบรมมาก่อนจึงจะมายื่นขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ ดังนั้นผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่จะมีการตราพระราชบัญญัติสภามัคคุเทศก์แห่งประเทศไทยขึ้นมาเพื่อทำให้มัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่เป็นวิชาชีพ โดยให้คนกลุ่มเดียวกันมาดูแลกำกับกันในสายอาชีพ ย่อมเป็นผลดีและช่วยลดปัญหามัคคุเทศก์ที่ไม่มีใบอนุญาตและปัญหา Sitting Guide ได้ เนื่องจากคนในกลุ่มเดียวกันย่อมเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ของคนในสายอาชีพเดียวกัน การที่จะจัดตั้งสภามัคคุเทศก์แห่งประเทศไทยขึ้นมาให้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐจึงเป็นสิ่งที่สมควรทำ และผู้เขียนเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายและมีการตรากฎหมายเพิ่มเติมth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectการพัฒนากฎหมาย/มัคคุเทศก์th_TH
dc.subjectสภามัคคุเทศก์แห่งประเทศไทยth_TH
dc.titleการพัฒนากฎหมายกำกับดูแลมัคคุเทศก์th_TH
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF LAWS REGULATING TOUR GUIDEth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ กรินทร โตรักตระกูล_veryfinal.pdf438.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.