กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7964
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorป นนทนันทน์ เรืองจันทร์th_TH
dc.date.accessioned2022-01-28T07:47:55Z-
dc.date.available2022-01-28T07:47:55Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationป นนทนันทน์ เรืองจันทร์. 2564. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พุทธศักราช 2493." บทความ นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7964-
dc.description.abstractสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาของพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พุทธศักราช 2493 โดยทำการศึกษาปัญหามาตรการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงสามกรณีด้วยกัน คือ ปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาตเพื่อการโฆษณา ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดประเภทของการโฆษณา และปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดภาษาที่ใช้เพื่อการโฆษณาตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พุทธศักราช 2493 โดยได้ทำการศึกษาประกอบกับหลักกฎหมายมหาชนรวมถึงกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อนำผลการศึกษาและวิเคราะห์มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยกำหนดให้ประชาชนต้องทำการขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่มีขอบเขตหรือข้อจำกัดเป็นหลักการนั้น เสมือนเป็นการตัดสิทธิเด็ดขาด ในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสามารถออกข้อกำหนดในลักษณะอื่นที่ไม่มีความจำเป็นถึงขนาดต้องทำการขออนุญาต และรัฐควรควบคุมการดำเนินการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เมื่อพิจารณานิยามของการโฆษณา จะเห็นว่า กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงไว้เพียงเฉพาะการพูดหรือการปราศรัยเท่านั้น ซึ่งจากการศึกษากฎหมายที่ใช้ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงในต่างประเทศจะมีขอบเขตของการควบคุมประเภทของเสียงเพื่อการโฆษณาโดยไม่มีการกำหนดประเภทของเสียงมากกว่าการพูดหรือการปราศรัย นอกจากนี้ กฎหมายการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงในประเทศไทยได้กำหนดให้ใช้ภาษาไทยหรือภาษาพื้นเมืองในการโฆษณาเท่านั้น ซึ่งมีความไม่สอดคล้องและไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากปัจจุบันประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นได้โดยไม่ควรจำกัดเพียงภาษาที่ใช้ อีกทั้งกรณีนี้ยังเป็นการจำกัดเสรีภาพแก่ประชาชนโดยไม่เป็นการสมควรซึ่งการควบคุมให้ใช้ภาษาไทยหรือภาษาพื้นเมืองในการโฆษณาไม่ได้ทำให้กฎหมายบรรลุเจตนารมณ์โดยตรง และไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องจำกัดการใช้ภาษาเพื่อการโฆษณาเพียงภาษาไทยหรือภาษาพื้นเมืองเท่านั้น ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขออนุญาต โดยแก้ไขเพิ่มกฎหมายให้เสรีภาพในการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงเป็นหลัก เว้นแต่การขออนุญาตโฆษณาในกิจการบางประเภทให้เป็นข้อยกเว้น และให้มีการขยายความหมายของเครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าเพื่อใช้การควบคุมปัญหาการใช้เสียงและมุ่งควบคุมการใช้เสียงทุกประเภทที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นการทั่วไป รวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยให้สามารถโฆษณาเป็นภาษาอื่นๆ ได้ เพื่อที่จะได้สอดคล้องกับหลักการทากฎหมาย โดยประชาชนยังคงมีสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารหรือการพูดของตนได้โดยเสรี และรัฐยังคงบรรลุวัตถุประสงค์ในการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงที่จะควบคุมโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งจะทำให้การดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงของประเทศไทยมีความชัดเจนและเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงth_TH
dc.subjectการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงth_TH
dc.subjectการควบคุมการโฆษณาth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง ตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พุทธศักราช 2493th_TH
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS RELATING TO THE CONTROL OF ADVERTISEMENT BY USING SOUND AMPLIFIERS UNDER THE ACT ON CONTROL OF ADVERTISEMENT BY USING SOUND AMPLIFIERS B.E. 2493th_TH
dc.typeThesisth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความ.pdf236.71 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น