Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8818
Title: หลักสูตรเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคกิจกรรม การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: THE CURRICULUM DEVELOPMENT OF SOCIAL MEDIA LITERACY THROUGH INTEGRATED LEARNING TECHIQUE FOR JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS
Authors: ชนัญชิดา สุขทัศน์
Keywords: หลักสูตรเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์
เทคนิคกิจกรรมการบูรณาการจัดการเรียนรู้
การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ชนัญชิดา สุขทัศน์. 2564. "หลักสูตรเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคกิจกรรม การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น." สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการเรียนรู้และการสอน วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเทคนิคกิจกรรมการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ส าหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น(2) พัฒนาหลักสูตรฯ (3) เปรียบเทียบการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อได้รับการจัดการเรี ยนรู้ด้วยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรี ยนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลบ้านปากทาง สังกัดเทศบาลเมืองพิจิตร ภาคเรียนที่1 ปี การศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบอาสาสมัครเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ 2. แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t –test dependent ผลการวิจัยพบว่า1) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรฯ ควรเน้นให้นักเรียนเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่สามารถเรียนรู้ถึงกลวิธีในการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยยกตัวอย่างสถานการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับนักเรียนได้วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและรู้เท่าถึงวิธีการเอาตัวรอดจากการกระทำผิดของผู้ไม่หวังดีในสื่อสังคมออนไลน์ เนื้อหาสาระสำคัญต้องเป็นเนื้อหาสาระที่ทันสมัย ใช้สื่อหรือนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วมาใช้ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดแลประเมินผล ทั้งนี้หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากโดยมี x =4.31, S.D. = 0.17และ x= 4.40, S.D. = 0.24 ตามล าดับ 3) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8818
Appears in Collections:SITI-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
64504085 ชนัญชิดา สุขทัศน์ .pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.