กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8869
ชื่อเรื่อง: การทดสอบโช้คอัพสำหรับการปรับแต่งระบบรองรับน้ำหนัก
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดุลย์ พัฒนภักดี
พันธกานต์ รามปาน
เผชิญ จันทร์สา
คำสำคัญ: โช้คอัพ
ระบบรองรับน้ำหนัก
ค่าสัมประสิทธิ์การหน่วง
วันที่เผยแพร่: ตุลาคม-2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: Pinjarla Poornamohan & Lakshmana Kishore (2018), Design and analysis of a shock absorber, IJRET: International Journal of Research in Engineering and Technology, 01(4), 578-592
บทคัดย่อ: โช้คอัพ (Shock Absorber) เป็นอุปกรณ์ทางกลที่ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยในการรองรับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือนของรถ โดยการกระจายพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้น และทำหน้าที่หน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นลงของรถยนต์อันเนื่องมาจากสภาพพื้นผิวของถนนตลอดเวลาขณะรถวิ่ง ลดการโคลงตัวของรถ ทำให้รถทรงตัวได้ดีเกิดความนุ่มนวลในการขับขี่ การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นการทดสอบเปรียบเทียบคุณสมบัติที่สำคัญของโช้คอัพคือ ค่าสัมประสิทธิ์การหน่วง (Damping Coefficient)ของโช้คอัพสามรูปแบบ ประกอบด้วย โช้คอัพมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์ฮอนดา ซิตี้ โช้คอัพดัดแปลงรุ่น GAB He และโช้คอัพดัดแปลงรุ่น H.Drive S spec ผลการทดสอบโช้คอัพโดยใช้เครื่องทดสอบ Shock Dynos Test พบว่า สำหรับโช้คอัพมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์การหน่วงแรงอัดด้านบวกมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.226 kg.s/in และค่าสัมประสิทธิ์การหน่วงแรงหน่วงด้านลบมีค่า เฉลี่ยเป็น 4.636 kg.s/in สำหรับโช้คอัพดัดแปลงรุ่น GAB He ค่าสัมประสิทธิ์การหน่วงแรงอัดด้านบวกมีค่าเฉลี่ยเป็น 5.023(kg.s/inและค่าสัมประสิทธิ์การหน่วงแรงหน่วงด้านลบมีค่า เฉลี่ยเป็น 8.659 kg.s/inและสำหรับโช้คอัพดัดแปลงรุ่น H.Drive S spec ค่าสัมประสิทธิ์การหน่วงแรงอัดด้านบวกมีค่าเฉลี่ยเป็น 6.489 kg.s/in และค่าสัมประสิทธิ์การหน่วงแรงหน่วงด้านลบมีค่า เฉลี่ยเป็น 10.149 kg.s/in
รายละเอียด: -
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8869
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
651130_บทความ_การทดสอบโช้คอัพ_อดุลย์.pdf3.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น