กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9093
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการศึกษาทั่วไปกับสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ
กิตติภูมิ มีประดิษฐ์
สำรวย เหลือล้น
วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์
อัจฉราพร โชติพฤกษ์
คำสำคัญ: การบูรณาการการศึกษาทั่วไป
สหกิจศึกษา
soft skills
วันที่เผยแพร่: 24-มีนาคม-2023
สำนักพิมพ์: เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน 2565, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ และคณะ. (2566). บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบูรณาการการศึกษาทั่วไปกับสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน 2565, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อค้นหาทักษะด้านสังคม (soft skill) ที่ผู้ประกอบการและอาจารย์ที่นิเทศก์งานสหกิจศึกษาต้องการจากนักศึกษาที่เข้าร่วมสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม และเพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการศึกษาทั่วไปกับสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุม โครงการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาจากเอกสาร รายงาน วารสารและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเชื่อถือได้ และส่วนที่ 2 เป็นการสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นของอาจารย์ที่นิเทศก์งานสหกิจศึกษา จำนวน 16 คน และตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเป็นข้อคำถามแบบปลายเปิด (open-ended questionnaires) การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ทักษะด้านสังคม (soft skill) ของนักศึกษาที่ควรได้รับการบ่มเพาะก่อนเข้าร่วมสหกิจศึกษา มี 16 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ทักษะด้านการสื่อสารและการนำเสนอ 3) ทักษะด้านการคิดเชิงสร้างสรรค์ 4) ทักษะด้านการสร้างนวัตกรรม 5) ทักษะด้านการคิด การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ 6) ทักษะด้านการแก้ปัญหา 7) ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน 8) ทักษะด้านสื่อและเทคโนโลยี 9) ทักษะเฉพาะในสายอาชีพ 10) ทักษะด้านการใช้ชีวิตตามสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวัน 11) ทักษะด้านทัศนคติ 12) ทักษะความเป็นผู้นำ 13) ทักษะด้านอารมณ์ 14) ทักษะด้านการบริหารเวลา 15) ทักษะด้านการจัดการความคิด และ 16) ทักษะด้านเจรจา นอกจากนี้รูปแบบการบูรณาการการศึกษาทั่วไปสามารถดำเนินการได้ 3 แนวทาง คือ 1) การบูรณาการผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ 2) การบูรณาการผ่านพันธกิจของสถาบันการศึกษากับรายวิชาที่เชื่อมโยงกับพันธกิจของสถาบันการศึกษา และ 3) การบูรณาการข้ามรายวิชาและข้ามศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลาง
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9093
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GEN-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความวิจัยขนิษฐา-2 การพัฒนารูปแบบการบูรณาการฯ.pdf6.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น