กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9181
ชื่อเรื่อง: กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL ABOUT ALCOHOLIC BEVERAGES ON SURROGATE ADVERTISING
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไอยวรินทร์ โพธิปฐม
คำสำคัญ: การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การโฆษณาตราเสมือน
กฎหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ไอยวรินทร์ โพธิปฐม. 2566. “กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือน.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือนเปรียบเทียบกับประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา รวมถึงศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือน แลแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านตราเสมือนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 และกฎกระทรวง กำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. 2565 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการห้ามการโฆษณาแฝง หรือห้ามโฆษณาที่ใช้เครื่องหมายที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่อย่างใด ดังนี้จึงถือเป็นช่องว่างของกฎหมายที่ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจอาศัยช่องว่างของการโฆษณาดังกล่าวดำเนินการในลักษณะดังกล่าว จากการศึกษา The Code of Federal Regulations Title 27 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดห้ามการใช้เทคนิคการโฆษณาแฝงเพื่อจูงใจจิตใต้สำนึกอย่างชัดเจน สำหรับปัญหาการกำหนดโทษกรณีขับขี่รถขณะมึนเมากรณีการกระทำความผิดซ้ำที่ปรากฎตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 โดยเพิ่มเติมมาตรา 160 ตรี/1 ที่กำหนดลงโทษทางอาญานั้น ยังไม่เหมาะสมและอาจจะไม่สามารถป้องปรามผู้ขับขี่รถขณะมึนเมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ Acts 24 of 2003 ของรัฐ Pennsylvania ได้กำหนดมาตรการเพื่อป้องปราม และบังคับให้ผู้กระทำความผิดครั้งที่สองขึ้นไป ต้องติดเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ เพื่อติดเครื่องยนต์” (Ignition interlock ) ข้อเสนอแนะ ควรแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 โดยกำหนดห้ามการใช้เทคนิคการโฆษณาแฝงเพื่อจูงใจจิตใต้สำนึก อีกทั้งควรเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 ตรี/1 วรรคท้ายโดยกำหนดให้ผู้กระทำความผิดครั้งที่สองขึ้นไป ต้องติดตั้งเครื่องเป่าแอลกอฮอล์เพื่อติดเครื่องยนต์
รายละเอียด: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9181
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น