Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9300
Title: การบังคับใช้โทษปรับทางอาญาในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่
Other Titles: ENFORCEMENT OF FINES AS CRIMINAL SANCTIONS FOR PUBLIC FRAUD BY PONZI SCHEME
Authors: ณิชาภา แก้วแสวง
Keywords: โทษปรับ
ฉ้อโกงประชาชน
แชร์ลูกโซ่
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ณิชาภา แก้วแสวง. 2566. "การบังคับใช้โทษปรับทางอาญาในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้ศึกษาการบังคับใช้โทษปรับทางอาญาในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบังคับใช้โทษปรับทางอาญาในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ มาตรการบังคับใช้โทษปรับทางอาญาในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ของประเทศไทยและต่างประเทศ ปัญหาการบังคับใช้โทษปรับทางอาญาในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ และแนวทางการบังคับใช้โทษปรับทางอาญาในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ ผลการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาของกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้โทษปรับทางอาญา ในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเห็นว่าที่ผ่านมากฎหมายยังไม่สามารถยับยั้งการกระทำความผิดดังกล่าวได้ เนื่องจากในปัจจุบันความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะและบทลงโทษในการปราบปรามการกระทำความผิดคงมีเพียงกฎหมายที่นำมาปรับใช้กับความผิดดังกล่าว คือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 และมาตรา 343 ที่เป็นบทลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกงและการฉ้อโกงประชาชน ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 และมาตรา 17 พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 12 และพระราชบัญญัติการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 60 โดยที่อัตราค่าปรับตามกฎหมายที่นำมาปรับใช้กับความผิดฐานฉ้อโกงยังมีอัตราค่าปรับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดได้รับ จึงทำให้ผู้กระทำความผิดไม่รู้สึกเกรงกลัวต่อบทลงโทษยอมที่จะกระทำความผิดแม้รู้ว่าต้องถูกดำเนินคดี อีกทั้งโทษปรับของไทยเป็นระบบโทษปรับแบบตายตัว ซึ่งกำหนดอัตราขั้นต่ำสุดและขั้นสูงสุดเอาไว้ ศาลไม่สามารถใช้ดุลพินิจในการลงโทษผู้กระทำความผิดให้เกินไปกว่าอัตราขั้นสูงสุดตามกฎหมายได้ ทั้งนี้ในต่างประเทศได้มีการนำระบบโทษปรับที่เป็นระบบโทษปรับตามวันและรายได้ หรือระบบโทษปรับแบบ Day fine มาใช้กับผู้กระทำความผิด โดยระบบดังกล่าวจะมีการกำหนดอัตราค่าปรับให้มีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้กระทำความผิด ทำให้การบังคับใช้โทษปรับสามารถยับยั้งอาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้โทษปรับทางอาญาเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ในการลงโทษ และสามารถยับยั้งอาชญากรรมได้ ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยให้มีการตรากฎหมายและบทลงโทษที่ใช้เฉพาะสำหรับความผิดในการฉ้อโกงประชาชนที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่และนำระบบโทษปรับตามวันและรายได้ หรือการปรับแบบ Day fine มาใช้ โดยให้มีการกำหนดวิธีการ และหลักในการคำนวณโทษปรับไว้ในกฎหมายเฉพาะที่ได้ตราขึ้นนั้น ตามแบบและวิธีการของการบังคับใช้โทษปรับแบบ Day fine ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
Description: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9300
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.