LL.M.
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู LL.M. โดย ผู้เขียน "แสงประดับ, สุภัทร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัญหากฎหมายในการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย(บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาคารพญาไท มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551-10-07) SANGPRADUP, SUPAT; แสงประดับ, สุภัทรการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภคเพื่อรักษาสิทธิของตน (Access to Justice ) ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights,1966) ซึ่งนับว่าเป็นตราสารที่สำคัญที่สุดและมีสถานะเป็นสนธิสัญญาที่ประมวลสิทธิต่างๆ ที่เป็นสากลไว้ ดังนั้น หลักการต่างๆ ในกติกาฯ จึงเป็นพันธกรณีที่รัฐภาคีทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทยที่เข้าเป็นภาคีแล้วนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลัก Pacta Sunt Servanda คือ สนธิสัญญาที่มีผลใช้บังคับแล้วย่อมผูกพันภาคีของสนธิสัญญานั้น ให้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาโดยหลักสุจริต ดังนั้น การบัญญัติกฎหมายภายในของไทยเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว จะต้องกระทำตั้งแต่กฎหมายสูงสุด คือ “รัฐธรรมนูญ” และกฎหมายระดับรองลงมา อันได้แก่ กฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ “พระราชบัญญัติ” วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งที่จะศึกษาวิจัยระบบการพิจารณาคดีคุ้มครองผู้บริโภค ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งจะเป็นการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภคเพื่อรักษาสิทธิของตนได้อย่างแท้จริงแล้วหรือไม่ โดยศึกษาวิจัยตั้งแต่กระบวนการก่อนนำคดีผู้บริโภคขึ้นสู่ศาลยุติธรรม โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งกระบวนการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม โดยเฉพาะระบบการฟ้องและการพิจารณาคดีผู้บริโภค การอุทธรณ์และฎีกา วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล และการได้รับชดใช้เยียวยาในคดีผู้บริโภค จากการวิจัยพบว่า ระบบองค์กรที่จะดำเนินคดีแทนผู้บริโภคซึ่งเป็นกระบวนการก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาลในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภคนั้น ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มิใช่องค์กรอิสระ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค อีกทั้ง กระบวนการได้มาซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อมาเป็นกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 8 คน มาจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารแต่งตั้งก็ด้วยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง และไม่มีกฎหมายกำหนดกระบวนการได้มาผู้ทรงคุณวุฒิไว้แต่อย่างใด จึงสามารถแต่งตั้งและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล นั่นหมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฝ่ายการเมืองสามารถแทรกแซงได้ตลอดเวลา ยังผลให้คดีที่ผู้บริโภคร้องเรียนดำเนินคดีผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเหตุแห่งการมีส่วนได้เสียหรือการมีผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีดังกล่าวจึงขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่กำหนดให้มีองค์กรเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ และขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญและหลักสิทธิมนุษยชนหรือกติการะหว่างประเทศ ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของประชาชนหรือผู้บริโภค สำหรับสมาคมที่จะดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ตามกฎหมายกำหนดให้เฉพาะแต่สมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองเท่านั้น ซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนจดทะเบียนรับรองที่ยุ่งยาก ทำให้นับแต่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน มีสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองเพียง 4 สมาคมเท่านั้น นอกจากนี้ สมาคมดังกล่าวยังขาดซึ่งเงินทุนในการสนับสนุนจากรัฐบาล ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรับรองให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย ในกรณีการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ การไกล่เกลี่ยของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมักจะไม่ประสบผลสำเร็จเป็นเหตุให้การดำเนินคดีผู้ประกอบธุรกิจต้องล่าช้าออกไป และจากสถิติ ผู้ประกอบธุรกิจมักจะไม่เชื่อฟังหรือขัดคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีมติให้ดำเนินคดี ผู้ประกอบธุรกิจรายใดแล้ว เมื่อคดีนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยรวม มักจะให้มตินั้น มีผลต่อผู้บริโภครายอื่นที่ได้ร้องเรียนลักษณะเดียวกัน หรือที่จะมาร้องเรียนในภายหน้าด้วย ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ไม่ได้กำหนดให้อำนาจเรื่องนี้ไว้ สำหรับกระบวนการพิจารณาคดีผู้บริโภค พบว่า องค์กรที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายวิธี สบัญญัติ กับ พระราชบัญญัติความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินคาที่ไมปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ยังเกิดความ ลักลั่นกันอยู่ กล่าวคือ องค์กรที่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 นั้น มีได้เฉพาะคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองเท่านั้น แต่พระราชบัญญัติความรับผิดตอความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินคาที่ไมปลอดภัย พ.ศ. 2551 องค์กรที่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภค ได้แก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม และมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค แสดงให้เห็นว่า กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวมีปัญหาขัดหรือแย้งทางข้อกฎหมายอย่างชัดเจน ในกรณีที่มูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองจะมีสิทธิดำเนินคดีแทนผู้บริโภคหรือไม่ เพราะกฎหมายวิธีสบัญญัติไม่ได้รองรับไว้แต่อย่างใด นอกจากนี้ การไกล่เกลี่ยคดีและการระงับข้อพิพาทคดีผู้บริโภคในบางคดีที่เป็นคดีเล็กๆ น้อยๆ กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคยังไม่มีกระบวนการหรือวิธีการไกล่เกลี่ยโดยคู่ความหรือการดำเนินคดีโดยประชาชน (Citizen Suit) ที่คู่ความเข้ามาในคดีนี้จะต้องสละสิทธิการมีทนายความในการดำเนินคดี ดังเช่น ประเทศสิงค์โปร์ ที่มี Small Claims Tribunal หรือประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ที่มี Small Claims Courts เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยสามารถกระทำได้ในคดีผู้บริโภค แต่ต้องไม่นำมาใช้ในคดีอาญาเพราะจะขัดต่อสิทธิของจำเลยในคดีอาญาตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กระบวนการนำสืบตามกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดภาระการพิสูจน์ว่าใคร มีหน้าที่สืบก่อนก็ได้ เพียงแต่ว่าถ้าศาลเห็นวา ขอเท็จจริงดังกลาว อยูในความรูเห็นโดยเฉพาะของคูความฝายที่เปนผูประกอบธุรกิจ ใหภาระการพิสูจนในประเด็น ดังกลาวตกอยูแกคูความฝายที่เปนผูประกอบธุรกิจเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงความเสียหายในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนในกระบวนการผลิต เห็นว่า ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายไม่อาจพิสูจน์ถึงเหตุแห่งความเสียได้ว่าเป็นความผิดพลาดของผู้ใดได้ กฎหมายดังกล่าวจึงมิได้มีการนำหลักความรับผิดโดยเด็ดขาด (Strict Liability) มาใช้ในคดีผู้บริโภคของไทย ที่กฎหมายสันนิษฐานว่า ผู้ประกอบธุรกิจมีความผิดแม้มิได้มีการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่ผู้ผลิตหรือผู้ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องรับผิดนี้ อาจพิสูจน์เพื่อพ้นความรับผิดได้ ในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหายจำนวนมาก การฟ้องคดีผู้บริโภคของไทยยังอยู่ในลักษณะคดีที่ผู้เสียหายต่างคนต่างฟ้อง แม้ได้รับความเสียหายจากเหตุเดียวกันก็ตาม ซึ่งไม่สอดคล้องแนวความคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีจำนวนจำกัด ที่คำพิพากษาของศาลในแต่ละคดีอาจจะทำให้ผลประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มที่ยังไม่ได้ฟ้องคดีลดลงหรืออาจทำให้ทรัพย์สินของจำเลยลดลงเรื่อยๆ และไม่เพียงพอต่อการชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายที่ฟ้องคดีในภายหลัง หรือผู้บริโภคที่ฟ้องมาภายหลังไม่ได้รับการชดใช้เยียวยาเพราะ เหตุแห่งการที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดีหรือล้มละลายไปแล้ว ดังนั้น จึงพบว่า การฟ้องคดีผู้บริโภคของไทยมิได้นำหลักการดำเนินคดีกลุ่ม (Class Action) มาใช้นั่นเอง กล่าวคือ เมื่อมีการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ที่มีข้อเรียกร้องหรือส่วนได้เสียร่วมกัน (Common Interest) และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการที่ตนถูกโต้แย้งสิทธิในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำเดียวกันของจำเลย ก็ควรที่จะฟ้องคดีเข้ามาด้วยกันเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาและตัดสินเสียไปในคราวเดียวกัน กรณีการฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ถือเป็นที่สุดนั้น กฎหมายกำหนดจะฎีกาได้เฉพาะเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ต้องตีความและเป็นดุลพินิจของศาล บทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่ถือว่าเป็นการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลสูงที่มีจำนวนผู้พิพากษาอยู่อย่างจำกัด ซึ่งในระบบการฎีกาในคดีแพ่งของต่างประเทศนั้น จะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น และปัญหาข้อกฎหมายที่ยื่นมานั้น ศาลฎีกาอาจปฏิเสธได้ หากเป็นการฎีกาในข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระสำคัญและเป็นฎีกาที่ไม่มีโอกาสที่จะชนะคดี ในส่วนของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จะพบว่า ผู้บริโภคจะต้องดำเนินการบังคับคดีด้วยตนเองซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยาก จากบทบัญญัติของกฎหมายทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการชดใช้เยียวยาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ทั้งที่ ในกระบวนการฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภค กฎหมายกลับกำหนดให้มีองค์กรดำเนินคดีแทนผู้บริโภคได้ จึงเห็นควรกำหนดให้มีระบบองค์กรที่จะบังคับคดีให้ผู้บริโภคด้วย