BUS-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู BUS-06. ผลงานวิจัย โดย ผู้เขียน "ปัทมา โกเมนท์จำรัส"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 2 ของ 2
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา(Sripatum University, 2560-07) ปัทมา โกเมนท์จำรัสวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนตำบลสองคลองอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม กับ เพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถานภาพในครอบครัว อาชีพหลัก รายได้ต่อเดือน และรายจ่ายต่อเดือน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กับ ระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 384 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติขั้นพื้นฐาน และการทดสอบไคสแควร์รายการ ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร(Sripatum University, 2565) ปัทมา โกเมนท์จำรัสวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้คือ (1) ศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) ได้แก่ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการ ปัจจัยด้านสถานที่ที่ใช้บริการ ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ และปัจจัยด้านระบบรักษาความปลอดภัย (2) ศึกษาความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) โดยเป็นการศึกษาความเสี่ยงด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงในภาพรวมจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) เมื่อจำแนกตาม เพศ สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเตือน และรายจ่ายต่อเดือน (4) การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่นำไปสู่ความเสี่ยงจากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-banking) ในรายด้าน และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในด้านการเงิน ในด้านปฏิบัติการ และในภาพรวม จากการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม