GRA-06. ผลงานวิจัย
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู GRA-06. ผลงานวิจัย โดย ผู้เขียน "ปิยากร หวังมหาพร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 3 ของ 3
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ความผูกพันและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) ปิยากร หวังมหาพรการวิจัยแบบผสม เรื่อง ความผูกพันและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย ศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของความผูกพัน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีและประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย ศึกษาความแปรปรวนของความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทยที่เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาและยืนยันความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ศึกษาปัญหาและอุปสรรคและเสนอแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในประเทศไทย การวิจัยเชิงปริมาณรายการ ความร่วมมือในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ : การวิเคราะห์ข้ามกรณี(หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท, 2563) ปิยากร หวังมหาพรการศึกษาวิจัยเรื่องผู้สูงอายุในหลายสาขาวิชา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสุขภาพ การศึกษาเรื่องผู้สูงอายุในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่มุ่งศึกษาบทบาทของภาครัฐในการจัดบริการสาธารณะ งานวิจัยเรื่อง ความร่วมมือในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ : การศึกษาข้ามกรณี มุ่งศึกษาบทบาทการจัดบริการสาธารณะของโรงเรียนผู้สูงอายุซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ อันเป็นการจัดบริการสาธารณะคู่ขนานไปกับการดำเนินการของภาครัฐรายการ ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม(Sripatum University, 2561) ปิยากร หวังมหาพรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ 2) ศึกษาศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย ศรีปทุม ประชากรกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน ที่มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 467 คน ซึ่งได้รับความร่วมมือตอบแบบสอบถามกลับคืนจจำนวน 171 คน คิดเป็นร้อยละ 36.62 ใช้ระยะเวลาการวิจัยในระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS for windows version 17.0) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน (multiple regression analysis) แบบขั้นตอน (stepwise) และการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสอบถามปลายเปิด ผลการวิจัย พบว่า จำนวนปีที่เคยทำวิจัย ประสบการณ์ความรู้สึกที่มีต่อการทำวิจัยที่ผ่านมา และความรู้สึกได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง เป็นปัจจัยที่ร่วมกันส่งผลต่อศักยภาพการทำวิจัยของอาจารย์ในด้านจำนวนงานวิจัยที่ทำได้ในทางบวก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01