CAT-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CAT-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "ธนากร เอี่ยมปาน"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 7 ของ 7
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ กลยุทธ์การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคมมหาวิทยาลัยศรีปทุม กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเชื่อมั่นใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามโดยหาค่า IOC เท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคมมหาวิทยาลัยศรีปทุม ในแต่ละด้านและภาพรวมอยู่ในระดับมาก และกลยุทธ์การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุมประกอบด้วย 1 ด้านกายภาพ คือ 1.1) การพัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิชาชีพและสื่อการสอนที่ทันสมัย 1.2) การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านวิชาการ คือ 2.1) การส่งเสริมศักยภาพงานวิชาการและพัฒนาอาจารย์ประจำอย่างต่อเนื่อง 2.2) การจัดการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ด้านการเงิน คือ การจัดหางบประมาณจากภาครัฐในการส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา 4) ด้านการบริหารจัดการ คือ การพัฆนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรายการ การฝึกอบรมการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินสำหรับความปลอดภัยการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนากร เอี่ยมปาน; วุฒิภัทร จันทร์สารความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้โดยสารและลูกเรือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดในการบิน สถิติของอากาศยานอุบัติเหตุ พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุมากกว่าร้อยละ 70.0 เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ บทความวิชาการนี้ จึงขอนำเสนอทฤษฎี SHELL Model ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และเป็นการถือกำเนิดขึ้นของการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบินโดยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีการทำงานร่วมกัน ได้แก่ นักบิน ลูกเรือ ผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ วิศวกรซ่อมบำรุงเครื่องบิน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการส่วนอื่น ๆ การฝึกอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดความผิดพลาดของมนุษย์ในการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ โดยมีรายละเอียดการฝึกอบรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร ความเป็นผู้นำ การตระหนักรู้สถานการณ์ การตัดสินใจ และความผิดพลาดของมนุษย์รายการ การศึกษาทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตาม และภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา เมื่อจำแนกตามเพศและระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ทุกระดับการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.98 ผลการวิจัยพบว่า 1. ทุนจิตวิทยาเชิงบวกโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ย จากมากไปน้อย ได้แก่ การมองโลกในแง่ดี ความหวัง การรับรู้ความสามารถ และการฟื้นคืนภาวะปกติ 2. ภาวะผู้ตามโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ความกล้าหาญ ความผูกพัน การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง และการบริหารจัดการตนเอง 3. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การตรวจสอบความเชื่อร่วมกัน การทำงานแบบทีมในการสืบเสาะหาความรู้ การร่วมมือกันแก้ปัญหา การจินตนาการภาพอนาคตที่ควรเป็น การรวบรวมวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล การใช้คำถาม 4. การเปรียบเทียบทุนจิตวิทยาเชิงบวกโดยภาพรวมและรายด้าน จำแนกตามเพศและระดับการศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน 5. การเปรียบเทียบภาวะผู้ตามโดยภาพรวม จำแนกตามเพศ พบว่า ภาวะผู้ตามรายด้านที่มีความแตกต่างกัน จำนวน 2 ด้าน โดยเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย ได้แก่ (1) การบริหารจัดการตนเอง และ (2) ความกล้าหาญ แต่ภาวะผู้ตามรายด้านที่ไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามเพศ ได้แก่ (1) ความผูกพัน และ (2) การเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตนเอง 6. การเปรียบเทียบภาวะผู้ตามโดยภาพรวม จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน 7. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวม จำแนกตามเพศ พบว่า ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์รายด้าน จำแนกตามเพศ มีความแตกต่างกัน โดยเพศหญิงมีมากกว่าเพศชาย ได้แก่ (1) การทำงานแบบทีมในการสืบเสาะหาความรู้ (2) การร่วมมือกันแก้ปัญหา (3) การจินตนาการภาพอนาคตที่ควรเป็น และ (4) การใช้คำถาม แต่ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์รายด้าน จำแนกตามเพศ ที่ไม่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ (1) การตรวจสอบความเชื่อร่วมกัน และ (2) การรวบรวมวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล 8. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวม จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ผลจากการวิจัยในครั้งนี้ คณบดีวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารการศึกษา โดยการวางแผน กำหนดนโยบาย ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นแนวทางในการออกแบบและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และพัฒนาทุนจิตวิทยาเชิงบวก ภาวะผู้ตามและภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุมรายการ การศึกษาบุคลิกภาพผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะนักบินของนักศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563-12) ธนากร เอี่ยมปานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบุคลิกภาพผู้นำและสมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพผู้นำกับสมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม ทุกระดับการศึกษาในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2562 เลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.887 ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลิกภาพผู้นำภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยบุคลิกภาพผู้นำจากมากไปน้อย คือ บุคลิกภาพแบบมีสติ บุคลิกภาพแบบแสดงออก บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และบุคลิกภาพแบบยอมรับผู้อื่น 2. บุคลิกภาพผู้นำภาพรวมของนักศึกษาเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 3. สมรรถนะนักบินภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะนักบินจากมากไปน้อย คือ การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร ภาวะผู้นำ และการตัดสินใจ 4. สมรรถนะนักบินภาพรวมของนักศึกษาเรียงลำคับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 5. บุคลิกภาพผู้นำ คือ บุคลิกภาพแบบแสดงออก บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง บุคลิกภาพแบบยอมรับผู้อื่น บุคลิกภาพแบบมีสติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสมรรถนะนักบิน ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6. ตัวแปรพยากรณ์สมรรถนะนักบินของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม คือ บุคลิกภาพแบบมีสติ และบุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานรายการ การศึกษาวัฒนธรรมความเที่ยงธรรมในองค์กรการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564-10) ธนากร เอี่ยมปานปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ดำเนิน โครงการต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าอุตสาหกรรมการบินเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งองค์กรการบินต่างๆ ต้องดำเนินธุรกิจให้สำเร็จตามเป้าหมายและมีความปลอดภัยการปฏิบัติงานด้วย ผู้บริหารองค์กรการบินต้องศึกษาแนวความคิดทางด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยที่มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ (1) วัฒนธรรมการสื่อข้อมูลข่าวสาร (2) วัฒนธรรมการรายงาน (3) วัฒนธรรมความเที่ยงธรรม (4) วัฒนธรรมความยืดหยุ่น และ (5) วัฒนธรรมการเรียนรู้ วัฒนธรรมความเที่ยงธรรม เป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในการบริหารจัดการวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร ดังนั้นผู้บริหารองค์กรการบินต้องนำแนวความคิดทางด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยมาประยุกต์และปรับใช้ในการสร้างและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน โดยการสร้างความเชื่อและค่านิยมที่จะเป็นองค์ประกอบของวัฒนธรรมความปลอดภัย และนำไปสู่พฤติกรรมความปลอดภัยที่ดีของบุคคลในการปฏิบัติงานทางการบินรายการ การศึกษาหลักการบินพื้นฐานสำหรับความปลอดภัยการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562-12) ธนากร เอี่ยมปานมนุษย์มีการทดลองการบินซึ่งในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จและมีการบาดเจ็บเสียชีวิต ในเวลาต่อมามีนักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบินขึ้น ในปี ค.ศ. 1 773 เซอร์ จอร์จ เคย์เลข์ แห่งอังกฤษผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของอากาศพลศาสตร์สมัยใหม่ และได้เผยแพร่ทฤษฎีเบื้องต้นเกี่ยวกับแรงที่มากระทำต่อปีก โดยที่ปีกไม่ต้องเคลื่อนไหวเหมือนอย่างนก ซึ่งต่อมากิจการด้านการบินได้พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมการบินขนาดใหญ่ และเกี่ยวข้องกับคนมากมาย จากสถิติของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ พบว่าสาเหตุของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ และมีบางครั้งอากาศยานอุบัติเหตุเกิดจากนักบินขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนั้นความปลอดภัยทางการบินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และทำความเข้าใจหลักการบินพื้นฐานสำหรับความปลอดภัยในการบินรายการ ความปลอดภัยทางการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-12) ธนากร เอี่ยมปานสองพี่น้อง วิลเบอร์และออร์วิล ไรท์ ได้ประดิษฐ์เครื่องบินร่อนปีกสองชั้น นำเอาเครื่องยนต์ไปติดตั้งบนเครื่องบิน บินด้วขความเร็ว และสามารถลอยอยู่เหนือพื้นได้ โลกจึงยกย่องว่าสองพี่น้องตระกูลไรท์เป็นผู้เปิดศักราชการบินสมัยใหม่ ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้การจราจรทางอากาศหนาแน่นมาก ซึ่งผู้บริหารองค์กรการบินต้องตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางการบินพร้อมทั้งดำเนินการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายด้านความปลอดภัยทางการบินในการรักษาชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้อง รักษาทรัพยากรและเพิ่มผลผลิต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและสร้างความเข้าใจในความสำคัญของความปลอดภัยทางการบิน โดยมีหัวข้อที่สำคัญ คือ (1) ประวัติศาสตร์การบินและความปลอดภัยทางการบิน (2) แนวความคิดด้านความปลอดภัยทางการบิน (3) การแบ่งประเภทอากาศขานอุบัติเหตุ (4) ความสำคัญของความปลอดภัยทางการบิน (S) มาตรฐานการบินระหว่างประเทศ