CAT-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู CAT-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ) โดย ผู้เขียน "สุภาพร สอนอินทร์"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 4 ของ 4
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ ในการให้บริการของพนักงานภาคพื้น ในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565) สุภาพร สอนอินทร์; ชูชีพ แก่นแสงงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ในการให้บริการของพนักงานภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอยางคือ พนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน บริษัท แพน ไทย แอร์ (กรุงเทพ) จํากัด จํานวน 162 คน พื้นที่ในการวิจัยคือ คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ช่วงอายุ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานปฏิบัติการที่มีประสบการณ์ทํางานอยู่ที่ 1-5 ปี ขึ้นไป เคยฝึกอบรมด้านความปลอดภัย 1-2 ครั้ง ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยานมากที่สุด คือ ปัจจัยจากการกระทําของมนุษย์ ที่มีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีต่างๆ ด้านการบิน ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการให้องค์กรด้านการบินได้ตระหนักและกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีศักยภาพในด้านต่างๆเพื่อให้การทํางานมีความปลอดภัย เช่น การฝึกอบรมให้บุคลากรได้ตระหนักถึงสมรรถนะของตนต่อการทํางาน การได้รู้จักมนุษยปัจจัยต่อการทํางานเป็นต้น เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานและการเติบโตขององค์กรตลอดไปรายการ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานภาคพื้น ในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สุภาพร สอนอินทร์งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน บริษัท แพน ไทย แอร์ (กรุงเทพ) จํากัด จํานวน 162 คน พื้นที่ในการวิจัยคือ คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่สําคัญมีดังนี้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบริการภาคพื้นเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยาน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย พนักงานอยูในช่วงอายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาอยูในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นพนักงานปฏิบัติการมีประสบการณ์ทํางานอยู่ที่ 1-5 ปี ขึ้นไป เคยฝึกอบรมด้านความปลอดภัย 1-2 ครั้ง และผลการวิจัยระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการของพนักงานบริการภาคพื้นในเขตพื้นที่คลังสินค้าและลานจอดอากาศยานมากที่สุด คือ ปัจจัยจากการกระทําของมนุษย์ ที่มีความสอดคล้องกับหลักทฤษฎีต่างๆ ด้านการบิน และผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการให้องค์กรด้านการบินได้ตระหนักและกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีศักยภาพในด้านต่างๆ เพื่อให้การทํางานมีความปลอดภัย เช่น การฝึกอบรมให้บุคลากรได้ตระหนักถึงสมรรถนะของตนต่อการทํางาน การได้รู้จักมนุษยปัจจัยต่อการทํางาน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตัวพนักงานและการเติบโตขององค์กรตลอดไปรายการ มนุษย์ปัจจัยกับการป้องกันอุบัติเหตุด้านการบิน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2564) สุภาพร สอนอินทร์ธรรมชาติของมนุษย์มีความเหมือนกันอยู่หลายประการ รวมทั้งการที่มนุษย์ทุกคนมีพฤติกรรมทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่เป็นผลมาจากความคิดและความรู้สึกของแต่ละคน พฤติกรรมในเชิงลบอย่างหนึ่งของมนุษย์ก็คือการกระทําความผิดที่ผิดพลาดหรือมีข้อผิดพลาด ซึ่งไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น จากข้อเท็จจริงในช่วง 40 ปี ที่ผ่านมา อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับอากาศยาน ที่มีสาเหตุมาจากเครื่องยนต์ขัดข้อง หรือ mechanical failure มีจํานวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดจากมนุษย์ก็ลดลงเช่นกัน แต่ลดลงในอัตราที่ช้ากว่า จากการค้นคว้า พบว่ามนุษยปัจจัย มีปัจจัยสอดแทรกและตัวแปรที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่ส่งผลให้เป้าหมายในการลดอุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ไม่เกิดประสิทธิผลอย่างชัดเจน ดังนั้นหากต้องการลดจํานวนอุบัติเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ให้น้อยลง จําเป็นจะต้องให้ความสําคัญในการศึกษาแหล่งกําเนิดหรือต้นตอของความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ อันเป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดอุบัติเหตุมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือการศึกษาถึงมนุษยปัจจัยกับการป้องกันอุบัติเหตุนั่นเองรายการ อุตสาหกรรมการบินของไทยในยุคดิจิทัล(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2562) สุภาพร สอนอินทร์เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้เข้ามามีบทบาทสําคัญต่อการดําเนินงานขององค์กรโดยธุรกิจจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ วางแผนการดําเนินการ แผนการตลาด แผนการเงิน และการจัดการทรัพยากรบุคคล ตลอดจนใช้สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการแก้ปัญหาขององค์กรทําให้ผู้บริหารไม่สามารถมองข้ามความสําคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อหน่วยงานได้ นอกจากนี้ระบบสารสนเทศยังมีผลกระทบกับบุคลากรขององค์กรในหลายระดับตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ระดับจัดการ และผู้บริหารระดับสูง จึงเป็นการยากที่องค์กรสมัยใหม่จะบริหารงานโดยไม่ใช้ระบบสารสนเทศเข้าช่วย เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจ (รุ่งรัศมี บุญดาว, 2559: 26) อุตสาหกรรมการบิน เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศในรูปแบบ New S-Curve ที่จะช่วยผลักดันให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นอุตสาหกรรมการบินมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสูง (วารสารส่งเสริมการลงทุน, 2559) ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเห็นได้จากมีการขยายฝูงบิน เครือข่ายเส้นทางบิน และเพิ่มเที่ยวบินเป็นจํานวนมาก ประกอบกับแนวโน้มความต้องการเดินทางทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น การก้าวเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัล จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆที่จะเกิดขึ้น ทําให้อุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างตื่นตัวและต้องพัฒนาอุตสาหกรรมการบินให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้โดยสารได้