School of Information Technology
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู School of Information Technology โดย ผู้เขียน "กนก อ้นถาวร"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การพัฒนาตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสำหรับผู้สอนในสถาบัน การพลศึกษาในประเทศไทย(หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) กนก อ้นถาวรการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของบุคลากรสายผู้สอนในสถาบันการพลศึกษาของประเทศไทย ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหารายการสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติงานสายผู้สอน และได้ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย สามารถสร้างเป็นตัวแบบรายการสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Competency list Model) ที่ยอมรับได้ว่าเป็นสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของบุคลากรสายผู้สอน สถาบันการพลศึกษา ได้ตัวบ่งชี้จำนวน 32 ตัว สร้างองค์ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับข้อมูลจากผู้สอนจำนวน 640 คน ได้ตัวบ่งชี้จำนวน 12 ตัว และยืนยันความถูกต้องเชิงประจักษ์ด้วยเทคนิค การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดความสำคัญของตัวแบบ ซึ่งองค์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Attitude) ทุกองค์ประกอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value > 0.05) ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (CMIN/df < 3) ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI > 0.90) และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA <0.08) แสดงว่าทุกองค์ประกอบเป็นตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสำหรับผู้สอนในสถาบันการพลศึกษา โดยองค์ประกอบที่มีความสำคัญเรียงจากมากไปหาน้อยคือ 1) ทักษะ (R2= 0.97) 2) ความรู้ (R2=0.75) 3) ทัศนคติ (R2 = 0.71) ทุกองค์ประกอบมีสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) ซึ่งสามารถอธิบายตัวแบบตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสำหรับผู้สอนในสถาบันการพลศึกษาได้ทุกองค์ประกอบ (R2 มากกว่า.50) This research aimed to develop an ICT competency indicator model for instructors in the Institutes of Physical Education (IPE) in Thailand. The researcher took information derived from document analysis and related literatures to seek for an ICT competency list to construct the ICT competency indicator model and verify for appropriateness and essence by eighteen experts, using the Delphi technique. The derived data included 32 indicators constructed from Exploratory Factor Analysis (EFA), and 12 indicators constructed from first order and second order Confirmatory Factor Analysis (CFA) using 640 samplings to confirm that every factor was empirical correct. The model comprised three components: knowledge, skill and attitude. The weight value of each component was statistical significant with P-value > 0.05 ; Chi Square statistic comparing the tested model and the Independent model with the saturated model (CMIN/df) < 3; Goodness of Fit Index (GFI) > 0.90; and Root Mean Squared Error Approximation (RMSEA) < 0.08, which indicated that every component was the ICT competency indicator model for instructional work performers in the IPE. The important factors, ranked form the most to the least, were Skill (R2=0.97), Knowledge (R2=0.75) and Attitude (R2=0.71) respectively. Every factor contained the predictive co-efficiency (R2) that was able to explain the ICT competency indicator model for the instructors in the IPE in every factor.